Banner-Yamaha-Fazzio-X-Fila-2024-1150x250.gif
Banner-Yamaha-Fazzio-X-Fila-2024-400x300.gif

วิธีเช็คทักษะในการขับขี่รถมอเตอร์ไซค์

how-to-improve-your-motorcycle-skill

ความสนุกในการขับขี่มอเตอร์ไซค์นั้นไม่ได้มีเพียงความตื่นเต้นเมื่อเราอยู่ด้านหลังแฮนด์ เพราะการขับขี่รถมอเตอร์ไซค์นั้นจำเป็นต้องใช้ทักษะในการควบคุม ทักษะในการตัดสินใจ และทักษะอื่นๆ เป็นปัจจัยในการขับขี่อีกด้วย และเราขอนำเสนอวิธีการง่ายๆในการเช็คทักษะของตัวเราเองและเพื่อนๆ ที่เราจะเข้าไปร่วมทริปในการท่องเที่ยว ว่าตอนนี้เราหรือเขามีความพร้อมมากน้อยเพียงใด

Honda CBR650F
เทคนิคแรก เช็คทัศนคติก่อนและสภาพจิตใจ

ก่อนการขับขี่ทุกๆ ครั้งเราอาจจะต้องมีการสำรวจตัวรถโดยรวม และในบางครั้งเราเองก็หลงลืมที่จะเช็คความพร้อมของตัวเองและคนที่ร่วมทาง โดยในข้อนี้เราสามารถเช็คได้อย่างง่ายๆ โดยในกรณีที่เราขับขี่เพียงลำพังนั้น เราต้องตรวจตัวเองก่อนที่จะขึ้นขับขี่ว่าร่างกายและจิตใจเรานั้นพร้อมมากน้อยเพียงใด แต่ในกรณีการร่วมทริปกับเพื่อนหน้าใหม่ที่ไม่ค่อยรู้จัก การพูดคุยกันก่อนเดินทางจะเป็นการดีที่สุด เพราะเราไม่เพียงแต่เช็คอารมณ์ของผู้ที่เราจะร่วมทางแล้วก็เป็นการทำความรู้จักกันไปในตัว โดยอาจจะเริ่มต้นง่ายด้วยคำถามที่ง่ายที่สุดคือเคยขี่ไปที่ไหนมาแล้วบ้าง หรืออาจจะพูดในทำนองแลกเปลี่ยนประสบการณ์การขับขี่ระหว่างกันและกัน

Honda CBR300R
ดูจากจังหวะการขึ้นรถ

สิ่งที่ดูง่ายและน่าจะบ่งบอกอะไรได้มากมาย เพราะการขึ้นรถนั้นเรียกได้ว่าเป็นเบสิคพื้นฐานที่จำเป็นแต่หลายๆคนมองข้ามกัน การขึ้นรถที่อาจจะผิดวิธีก็ไม่ได้หมายความเสมอไปว่าคนคนนั้นจะขับขี่ไม่ได้หรือขับขี่จะก่อให้เกิดความอันตราย แต่เบสิคพื้นฐานนี้จะช่วยให้เราระมัดระวังและเป็นตัวช่วยในการสังเกต รวมไปถึงการจัดตำแหน่งในการขับขี่แบบเป็นกลุ่มได้อย่างเหมาะสม

1Ttam0.jpg
ตำแหน่งของมือและเท้า

หลังจากออกตัวเดินทางไปได้สักพัก สิ่งที่เราสามารถสังเกตได้ง่ายที่สุดคือตำแหน่งของมือและเท่าของผู้ขับขี่ นั้นอยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้องหรือไม่ โดยตำแหน่งของมือนั้น มือซ้ายจะใช้ในการประคองแฮนด์รถ และกางออกเพื่อจะกำคลัทซ์ในจังหวะเปลี่ยนเกียร์หรือป้องกันเครื่องยนต์ดับในการจอดเท่านั้น ส่วนมือขวานั้นนอกจากจะใช้ในการกำคันเร่งแล้วยังใช้เป็นส่วนในการควบคุมการเบรกของล้อหน้า ซึ่งนิ้วมือขวานั้นไม่ควรที่จะกางคาเพื่อรอจังหวะเบรก เพราะจะทำให้สูญเสียการควบคุมคันเร่งได้ง่ายกว่าปกติ ส่วนเท้าซ้ายนั้น หลังจากการเปลี่ยนเกียร์แล้ว ควรย้ายเอาปลายเท้ามาวางด้านบนของคันเกียร์เสมอ ไม่ควรสอดเท้าคาไว้ใต้คันเกียร์ ส่วนเท้าขวาควรวางปลายเท้าไว้เหนือแป้นเบรกหลังเสมอๆ หากตำแหน่งทั้งสี่ของมือและเท้าอยู่ผิดที่ผิดทางอาจจะดูอาการน่าเป็นห่วงซะแล้วล่ะครับ

คลัทช์และคันเร่ง
ดูการใช้คลัทซ

เทคนิคนี้ใช้ได้กับผู้ขับขี่ที่ใช้รถแบบคลัทซ์มือนะครับ วิธีการง่ายๆ คือการฟังเสียงของตัวรถ ในตอนที่เราลดความเร็ว อาจจะเพื่อชะลอความเร็ว เตรียมตัวเข้าโค้ง หรือในกรณีการเบรกแบบฉุกเฉินนั้น เราหรือคนรอบข้างยังคงกำคลัทซ์เพราะกลัวเครื่องดับอยู่หรือไม่ หากในกรณีที่เรากำลังเตรียมตัวเข้าโค้งนั้น การกำคลัทซ์จะทำให้เกิดการหมุนฟรีของเครื่องยนต์และไม่มีการสร้างแรงเฉื่อย เพื่อช่วยในการชะลอรถ และมันอาจจะส่งผลทำให้เกิดอาการบานโค้งและหลุดโค้งในที่สุดได้

การเข้าโค้ง
สังเหตุจากการเข้าโค้ง

เทคนิคนี้อาจจะมีความซับซ้อนขึ้นมาเล็กน้อย เพราะเราข้ามเรื่องของการออกตัวและการเบรกไปได้เลย เพราะนั้นอาจจะเป็นเรื่องยากที่จะตัดสินได้ว่าทักษะนั้นเพียงพอหรือไม่ แต่สิ่งที่น่าจะตอบอะไรได้อย่างชัดเจนมากที่สุดก็คือการดูทักษะในการเข้าโค้ง โดยที่เราอาจจะไม่ต้องลงลึกไปถึงขั้นว่าตำแหน่งร่างกายนั้นถูกต้องมากน้อยเพียงใด แต่สิ่งที่สำคัญที่เราต้องสังเกตก็คือ ความเร็ว องศาของวงเลี้ยว และที่สำคัญที่สุดคือการมองหาทางเข้าและออก การเข้าโค้งแต่ล่ะครั้งนั้นไม่จำเป็นต้องเข้าให้ไวและออกให้ไวเสมอไป เพราะความเร็วในจังหวะที่เราเอียงตัวนั้นการเบรกนับว่าเป็นเรื่องที่ไม่ถูกส่งเสริมให้ใช้นั้น เราต้องเตรียมตัว แต่งความเร็วให้พอดีกับเราก่อนที่จะเข้าโค้ง ที่จะทำได้คือการเหยียบเบรกหลังเท่านั้น เบรกหน้ากับการเข้าโค้งบนถนนจริงนับว่าเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิดอุบัติเหตุเป็นอย่างมาก

ทักษะมอเตอร์ไซค์

เทคนิคการชะลอรถและการเข้าจอด
เทคนิคสุดท้ายจะสอดคล้องกับการสังเกตการใช้คลัทซ์ในข้อข้างต้น แต่ในข้อนี้เราจะลงลึกไปอีกเล็กน้อย โดยฟังจากเสียงของรอบเครื่องยนต์ว่าสูงมาก หรือยานจนเกินไป ซึ่งในกรณีการชะลอความเร็วนั้นค่อนข้างชัดเจนว่าเราอาจจะต้องใช้การเปลี่ยนลดเกียร์เพื่อสร้างแรงเฉื่อยจากรอบของเครื่องยนต์ที่ถูกเปลี่ยนอย่างเฉียบพลัน และตรงจุดนี้เองที่เราสามารถฟังเสียงการหมุนของเครื่องยนต์ได้ว่าราบลื่นหรือเกิดอาการกระชากมากน้อยเพียงใด รวมไปถึงการเข้าจอดหรือการหยุดหลังสัญญาณไฟจราจร นั้นเรายังคงกำคลัทซ์ โดยที่ไม่ได้พยายามที่จะลดเกียร์ให้กลายเป็นเกียร์ว่าง ก็นับว่าเป็นปัจจัยเสี่ยงที่จะก่อให้เกิดอุบัติเหตุได้

ขี่รถมอเตอร์ไซค์

วิธีที่เราบอกเล่ามานี้อาจจะไม่ใช่ข้อตัดสินทั้งหมดของทักษะที่เรามีและอาจจะไม่สามารถใช้เป็นบรรทัดฐานในการตัดสินทักษะของผู้ขับขี่ได้ทั้งหมด แต่ก็นับว่าเป็นส่วนหนึ่งที่ของให้เราได้สังเกตทั้งตัวเองและรอบข้าง เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยลดอุบัติเหตุจากการขับขี่รถมอเตอร์ไซค์ และหวังว่าเพื่อนๆ ที่อ่านมาถึงตรงนี้น่าจะได้ประโยชน์จากบทความนี้ไม่มากก็น้อยนะครับ โอกาสหน้าเราจะยังคงสรรหาวิธีการและเทคนิคดีๆ เกี่ยวกับมอเตอร์ไซค์แบบนี้มาฝากเพื่อนๆ กันอีก ไว้เจอกันโอกาสหน้าครับ

ขอบคุณข้อมูลและรูปภาพจาก www.visordown.com