Banner-Yamaha-Fazzio-X-Fila-2024-1150x250.gif
Banner-Yamaha-Fazzio-X-Fila-2024-400x300.gif

ภาพรวมยอดจำหน่ายรถมอเตอร์ไซค์ทั่วโลกลดลงกว่า 27.9%

ภาพรวมยอดจำหน่ายรถมอเตอร์ไซค์ทั่วโลกลดลงกว่า 27.9%

นับว่าเป็นผลพวงมาจากการระบาดของเชื้อไวรัส Corona ที่เริ่มระบาดตั้งแต่ช่วงปลายปี 2019 ต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน โลกก็ยังต้องเฝ้าระวังการระบาดซ้ำของเชื้อร้ายนี้ ซึ่งมันส่งผลโดยรวมต่อภาคเศรษฐกิจทั่วโลกไม่เว้นอุตสาหกรรมมอเตอร์ไซค์ที่มียอดการจำหน่ายลดลงในช่วงแปดเดือนของปี 2020 ที่ลดลงไป 27.9% โดยสามารถคำนวนได้อย่างคร่าวๆ ว่าลดลงไปกว่า 9 ล้านคันเลยทีเดียว

มอเตอร์ไซค์ใหม่ Honda ADV 150 red
2020 Honda ADV150

เมื่อเปรียบเทียบการจำหน่ายมอเตอร์ไซค์ทั่วโลกจากแบรนด์ผู้ผลิตรายใหญ่ๆ พบว่าในตลาดเมื่อปี 2019 มีอัตราการเติบโตที่สูงขึ้น 7% หากนับจากปี 2018 แต่ในปี 2020 ช่วงแปดเดือนแรก ที่นับว่าเป็นสองในสามเดือนของปีนั้น กลับมียอดการจำหน่ายที่ลดลงไปกว่า 27.9% โดยมูลเหตุใหญ่เกิดจากผลกระทบของการระบาดทั่วโลกของ Covid-19 ที่ส่งผลกระจายแบบลูกโซ่ทำให้ในภาคส่วนต่างๆ ได้รับผลกระทบในเชิงติดลบอย่างเห็นได้ชัด

ช่วงเวลาที่หยุดชะงักตั้งแต่เดือนมีนาคมที่เป็นช่วงเวลาที่การระบาดเกิดขึ้นแทบจะทุกมุมโลก ทำให้เกิดจุดต่ำสุดจากหลายอุตสาหกรรม ด้วยการเคลื่อนไหวที่จำกัด และธุรกิจต่างๆ ถูกบังคับให้หยุดการผลิต ส่งผลให้ยอดขายเดือนต่อเดือนตกต่ำลงถึง 90% และบางอุตสาหกรรมต้องติดลบจนกระทั่งต้องเลิกกิจการไป แต่นั่นไม่ได้หมายความว่าอุตสาหกรรมยานยนต์จะหยุดชะงัก แต่เป็นการชะลดตัวมากกว่า เพราะตั้งแต่ช่วงการระบาดหนักในเดือนมีนาคมจนถึงสิงหาคม อุตสาหกรรมมอเตอร์ไซค์ที่ถึงแม้จะหยุดการผลิตไปบ้าง แต่กลับมียอดการจำหน่ายที่สูงถึง 21.9 ล้านคันทั่วโลก แต่ก็ยังน้อยกว่าเมื่อเปรียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2019

อย่างไรก็ตามหลังผ่านเดือนสิงหาคมไป เมื่อทุกอย่างเริ่มทรงตัวได้ภาครถมอเตอร์ไซค์จากที่เคยติดลบในช่วงเวลามีนาคมถึงสิงหาคม กลับมีการก้าวกระโดดของยอดการจำหน่ายที่สูงจาก ติดลบ 42.2% ในเดือนกรกฎาคม แต่พอเดือนสิงหาคมกลับมียอดที่เพิ่มขึ้นคิดเป็น 9% ซึ่งเป็นอัตราเจิบโตเชิงบวกครั้งแรกของปี นับตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์

Yamaha Aerox 155 2020 10
2020 Yamaha Aerox155

ส่วนหนึ่งเกิดจากการที่ตลาดรถมอเตอร์ไซค์ขนาดใหญ่ของโลกอย่างประเทศอินเดีย และจีน มีความตื่นตัวจากผู้บริโภคที่มีความต้องการหายานพาหนะเป็นของตนเอง เพื่อหลีกเลี่ยงการใช้ระบบขนส่งมวลชนสาธารณะ โดยเฉพาะในตลาดรถมอเตอร์ไซค์อินเดียนั้น รถมอเตอร์ไซค์พลังงานไฟฟ้ามีอัตราการเติบที่สูงถึง 213.2% หรือมีความต้องการที่มากกว่ากำลังผลิต แต่ในทางกลับกันในส่วนของรถที่ใช้เครื่องยนต์สันดาปกลับมียอดการจำหน่ายเฉพาะในประเทศที่ต่ำลงกว่า 37.4% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา

เช่นเดียวกับตลาดของประเทศจีนที่มีอัตราการเติบโตของรถสกู๊ตเตอร์พลังงานไฟฟ้าที่สูงขึ้น แต่ในส่วนของเครื่องยนต์สันดาปนั้นลดลงเล็กน้อยเพียง 4.1% ตลอดแปดเดือนที่ผ่านมา โดยส่วนหนึ่งเกิดจากผู้ผลิตหน้าใหม่ที่พร้อมใจกันขนเอาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ และราคาที่จับต้องได้ง่ายเข้าสู่ตลาดภายในประเทศ โดยเปรียบเทียบจากแบรนด์ผู้ผลิตในประเทศจะมีผลกำไรในเชิงบวกมากกว่าแบรนด์ผู้ผลิตที่ต้องมีการนำเข้าทั้งจากทวีปเอเชียด้วยกันเองหรือจากยุโรปก็ตาม

ในส่วนของประเทศไทยนั้น จากข้อมูลของกลุ่มสถิติการขนส่งในปี 2019 ที่ผ่านมา หากเรานับตั้งแต่เดือนมกราคมถึงเดือนสิงหาคมของปี จะมีรถมอเตอร์ไซค์ที่ทำการยื่นจดทะเบียนใหม่ทั้งสิ้น 21,107,965 คัน เกินครึ่งจากจำนวนการขึ้นทะเบียนยานพาหนะทั้งหมด 40.38 ล้านคันทั่วประเทศ แต่ในเดือนเดียวกันในปี 2020 กลับมียอดการยื่นของจดทะเบียนใหม่เพียง 1,123,961 คันจากทั่วประเทศเรียกได้ว่าลดกว่า 2,000% เลยทีเดียว

นับว่าประเทศไทยที่เป็นตลาดรถมอเตอร์ไซค์ที่มีขนาดไม่ใหญ่มากนัก แต่ก็ได้รับผลกระทบอย่างมหาศาล โดยส่วนหนึ่งจะบอกว่าเกิดจากการระบาดของ COVID-19 ทั้งหมดคงจะไม่ได้ เพราะมันยังมีปัจจัยอื่นๆ ที่ทำให้เศรษฐกิจบ้านเราถดถอย และเราได้แต่หวังว่าเราจะผ่านช่วงเวลาที่ยากลำบากแบบนี้ไปให้ไวที่สุด และกลับมาเริ่มต้นใหม่กันได้อีกครั้ง

R1000 Head1
2020 Suzuki GSX-R1000R

ขอบคุณข้อมูลและรูปภาพจาก www.visordown.com   web.dlt.go.th