Banner-Yamaha-Fazzio-X-Fila-2024-1150x250.gif
Banner-Yamaha-Fazzio-X-Fila-2024-400x300.gif

EURO5 คืออะไร

blank

เพื่อนๆ หลายๆ คนที่ติดตามข่าวสารวงการมอเตอร์ไซค์มาอย่างต่อเนื่อง น่าจะได้ยินหรือพบเห็นคำว่า EURO5 กันบ่อย ซึ่งหลายๆ คนอาจจะยังไม่ทราบถึงที่มาและปัจจัยสำคัญในการควบคุม รวมไปถึงขีดจำกัดของมาตรฐานไอเสียใหม่ที่กำลังจะประกาศใช้อย่างเป็นทางการในเดือนมกราคมปี 2020 นี้ ซึ่งทางเรา Greatbiker จึงอยากพาเพื่อนๆไปทำความเข้าใจและรับรู้ถึงเรื่องราวของ EURO5 กันแบบเข้าใจกันง่ายๆในบทความนี้ครับ

Z5pdtv.jpg

อะไรคือ EURO5

EURO เป็นค่ามาตรฐานไอเสียที่ถูกกำหนดโดยสหภาพยุโรป เพื่อเป็นข้อบังคับในการใช้งานยานยนต์ทุกประเภทที่ต้องใช้ถนนสาธารณะในการเดินทาง ซึ่งจุดเริ่มต้นของมาตรฐาน Euro นั้น เริ่มต้นใช้งานกันในปี 1999 ซึ่งต้องบอกเลยว่าระยะเวลาประมาณ 20 กว่าปีในการประกาศใช้มาตรฐานไอเสียนี้มีการพัฒนาที่ก้าวข้ามขีดจำกัดต่างๆ มากมาย ซึ่งเจ้าข้อบังคับต่างๆ เหล่านี้ทำให้เกิดการพัฒนาตัวเครื่องยนต์สันดาปที่ชัดเจนมากขึ้น และส่งผลไปในตลาดโลกเป็นวงกว้าง จนทำให้ประเทศที่เริ่มมีการเติบโตของอุตสาหกรรมยานยนต์ต้องออกระเบียบข้อบังคับมาตรฐานไอเสียตามๆ กันมา ทั้งในอเมริกา จีน, ญี่ปุ่น, อินเดีย รวมไปถึงประเทศไทยอีกด้วย ส่วนประเทศเดียวในยุโรปที่จะไม่ถูกควบคุมมาตรฐานไอเสียก็คือประเทศในเครือสหราชอาณาจักร โดยที่มาตรฐาน EURO นั้นจะถูกแบ่งแยกออกตามหมวดหมู่ของยานยนต์แต่ล่ะประเภทออกไป ตามขนาดของเครื่องยนต์และขนาดของตัวรถ โดยสำหรับรถยนต์นั้นค่ามาตรฐานล่าสุดที่ใช้นั้นจะเป็น EURO6 โดยที่รถมอเตอร์ไซค์กำลังจะประกาศการใช้งานมาตรฐาน EURO5 ในเดือนมกราคมปี 2020 นี้

Z5p7JN.jpg

ข้อบังคับของ EURO5 คืออะไร

ประเด็นแรกที่อยากจะบอกเพื่อนได้ทราบก็คือ มาตรฐาน EURO นั้นเน้นที่ค่า ไฮโดรคาร์บอนเป็นหลัก (HMHC) และค่า คาร์บอนมอนอ๊อกไซน์ (CO) จากการปล่อยไอเสียของเครื่องยนต์แบบสันดาป โดยมีค่าที่น้อยลงเรื่อยๆในประกาศแต่ล่ะฉบับ ซึ่งล่าสุดใน EURO5 นั้นรถมอเตอร์ไซค์จะต้องมีค่าไฮโดรคาร์บอนที่ไม่มากกว่า 0.068 g/km ซึ่งน้อยกว่า EURO1 ที่ใช้ในปี 1999 ที่ห้ามเกินกว่า 0.97 g/km โดยที่ EURO5 นั้นจะมีส่วนขยายที่เพิ่มขึ้นจาก EURO4 ในเรื่องของมลพิษทางเสียง และความปลอดภัยขั้นพื้นฐานอย่างเช่น ระบบ ABS เป็นต้น

Z5pYfV.jpg

แล้วมันส่งผลให้เกิดการพัฒนาได้อย่างไร

จากข้อมูลข้างต้น เพื่อนๆ หลายๆ คนอาจจะสงสัยกันว่า ในเมื่อกฎข้อบังคับนั้นมีแต่จะลดค่ามาตรฐานลงเรื่อยๆ ก็เหมือนเป็นการตัดตอนทำให้เครื่องยนต์นั้นต้องลดศักยภาพตัวเองลงไปเรื่อยๆ แต่มันกลับกลายเป็นตรงกันข้าม เพราะความท้าทายจากค่ามาตรฐานเหล่านี้ ส่งผลโดยตรงต่อทีมพัฒนา ที่ไม่ใช่แต่จะพัฒนาให้เครื่องยนต์นั้นแรงและรวดเร็วเพียงอย่างเดียว แต่มันต้องสัมพันธ์กับค่ามาตรฐาน ซึ่งจากมาตรฐาน EURO3 นั้นก่อให้เกิดระบบต่างๆในรถมอเตอร์ไซค์มากมาย ไม่ว่าจะเป็นระบบเบรก ABS ระบบวาล์วแปนผันของค่ายผู้ผลิตต่างๆ ระบบอิเล็กทรอนิกส์ที่ชัดเจนอย่าง Traction Control, Engine Brake Control หรือการติดตั้งแกน IMU (Internal Measurement Unit) ก็ล้วนแล้วแต่เกิดมาจากการควบคุมมาตรฐาน EURO แทบจะทั้งสิ้น

Z5pz5Q.jpg

ผลกระทบจากมาตรฐาน EURO5 ในประเทศไทย

สำหรับประเทศไทยนั้น หากจะเปรียบเทียบค่ามาตรฐานไอเสีย ของกรมขนส่งทางบกแล้วล่ะก็ จะเทียบได้กับมาตรฐาน EURO3 ของทวีปยุโรป ที่ยังคงเอื้อให้กับเครื่องยนต์แบบสันดาปหลายๆ รูปแบบ โดยเฉพาะระบบจ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงแบบ คาร์บูรเรเตอร์ ที่ยังคงเห็นกันในตลาดรถมอเตอร์ไซค์ไทยในปัจจุบัน ซึ่งหากจะมองผลกระทบจากการประกาศใช้งานของ EURO5 กับประเทศไทยแล้ว คงต้องบอกตามตรงว่ามีผลกระทบที่น้อยมาก โดยเฉพาะในตลาดรถมอเตอร์ไซค์ ถึงแม้ว่าประเทศไทยจะเป็นแหล่งผลิตประกอบรถมอเตอร์ไซค์แบรนด์ดัง เพื่อการส่งขายในยุโรปและทั่วโลกแล้ว การประกอบรถรุ่นใหม่ๆ นั้นก็ต้องไปกับมาตรฐาน EURO5 แบบหลีกเลี่ยงไม่ได้ ซึ่งหากเราจะมองมันก็ดูเหมือนจะกลายเป็นผลดีเสียด้วยซ้ำที่ประเทศไทยจะได้ใช้งานรถมอเตอร์ไซค์ที่มีเกณฑ์การปล่อยไอเสียและมลพิษที่เทียบเท่ากับรถที่ใช้ในยุโรปเป็นส่วนใหญ่

Z5p4VS.jpg

EURO5 และการปิดตัวของรถมอเตอร์ไซค์ดังๆมากมาย

แน่นอนว่าเมื่อค่ามาตรฐานใหม่มา รถมอเตอร์ไซค์ที่เคยโด่งดังในอดีตก็ต้องมีการยกเลิกการขายในยุโรปด้วยเช่นกัน ยกตัวอย่างเช่น Triumph Daytona 675 รถมอเตอร์ไซค์สปอร์ตฟูลแฟร์ริ่งหนึ่งเดียวของค่าย ก็ถูกยกเลิกและผิดไลน์การผลิตไปตั้งแต่การประกาศใช้มาตรฐาน EURO4 Ducati Monster 696 ก็กำลังจะกลายเป็นรถดังในอดีตที่ไม่สามารถหาซื้อในโชว์รูมได้อีกแล้ว ซึ่งไม่ใช่เฉพาะค่ายจากฝั่งยุโรปที่โดยมาตรฐาน EURO5 เล่นงาน ค่ายจากฝั่งเอเชียก็โดยไม่ใช่น้อย อย่างเช่น Honda CBR600RR รถสปอร์ตเรปพลิก้าตัวเทพจากค่าปีกนกเองก็โดยสั่งเก็บในตลาดยุโรปมาตั้งแค่ปี 2016 เป็นต้นมา และที่เรียกได้ว่าเจ็บปวดต่อบรรดาสาวกมากที่สุดก็คือ Suzuki GSX-1300R Hayabusa ที่พึ่งจะถูกปิดการขายในยุโรปไปช่วงต้นปี 2019 นี้หลังจากไม่สามารถลดค่ามลพิษให้ผานมาตรฐาน EURO4 ได้ตามระยะเวลาที่กำหนด ถึงแม้ว่าโมเดลเก่าจะจากไป แต่บรรดาค่ายผู้ผลิตเองก็หันมาให้ความสำคัญในการพัฒนาโมเดลใหม่แทน ซึ่งในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า บรรดารถมอเตอ์ไซค์ที่เคยโด่งดังนี้จะกลับมา พร้อมกับเทคโนโลยีที่ทันสมัยมากขึ้นอย่างแน่นอน

Z5pBSn.jpg

ขอบคุณข้อมูลและรูปภาพจาก www.motorcyclenews.com  www.bennetts.co.uk