Banner-Yamaha-EXCITER-2024-1150x250.gif
Banner-Yamaha-EXCITER-2024-400x300.gif

สิทธิบัตรงานออกแบบ Superbike รุ่นใหม่จาก Honda

สิทธิบัตรงานออกแบบ Superbike รุ่นใหม่จาก Honda

ค่ายปีกนกประสบความสำเร็จเป็นอย่างมากกับการพัฒนาตัวรถในคลาส Superbike ให้มีความสามารถในการขับขี่ในชีวิตประจำวันมากกว่าการใช้งานในสนามแข่ง โดยเริ่มต้นความเปลี่ยนแปลงตั้งแต่ประมาณ 30 ปีก่อนกับการเปิดตัวซีรี่ส์ Fireblade ที่ยังคงเดินหน้าพัฒนามาจนถึงปัจจุบัน โดยล่าสุดมีการเปิดเผยภาพสิทธิบัตรใหม่ของงานออกแบบตัวรถในคลาส Superbike ใหม่จากทางค่ายที่ดูเหมือนจะเป็นอีกครั้งที่ Honda กำลังพยายามสร้างมาตรฐานใหม่ให้กับรถในคลาส 1,000 ซีซี

ab814cc1e691d5c2c3e21fdafe2b2346.jpg
1982 Honda CBR900RR “Fireblade”

ย้อนกลับไปในปี 1992 ปีแรกที่ Honda ได้มีการนำเสนอโมเดล Superbike ใหม่อย่าง CBR900RR Fireblade ที่เป็นเหมือนหมุดหมายสำคัญที่พัฒนารถในระดับท๊อปคลาสในสนามแข่ง ให้สามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพบนท้องถนนสาธารณะ โดยมีการออกแบบที่คำนึงถึงน้ำหนักตัวที่เหมาะสม และคงประสิทธิภาพที่ใกล้เคียงกับตัวรถในสนามแข่ง ซึ่งช่วงเวลานั้น Honda ทำให้เจ้า CBR900 มีความสามารถเทียบเท่ากับรถในสนามแต่มีน้ำหนักตัวที่พอๆ กับรถในคลาส 750 ซีซี ซึ่งกลายเป็นจุดขายหลักของทางค่าย จนทำให้ผู้ผลิตรายอื่นๆ หันมาให้ความสนใจในการพัฒนารถในรูปแบบที่ใกล้เคียงกัน จนทำให้ Supersport ในคลาส 750 ซีซี ค่อยๆ ล้มหายตายจากกันไปเรื่อยๆ โดยในปัจจุบันดูเหมือนจะยังคงเหลือเพียง Suzuki เพียงเจ้าเดียวที่ยังผลิต GSX-R750 จำหน่ายในอเมริกา

จากการเปิดเผยสิทธิบัตรล่าสุด ดูเหมือนว่า Honda เองก็กำลังพัฒนาบางอย่างบนรถ Superbike รุ่นใหม่ จากข้อมูลที่เราได้มานั้นไม่เพียงแต่เลือกใช้โครงสร้างและวัสดุที่แตกต่างแต่ตัวสิทธิบัตรเองก็มีรายละเอียดที่น่าสนใจไม่น้อย รวมถึงคำอธิบายและภาพวาดของแชสซีแบบใหม่ตลอดจนชิ้นส่วนเสริมเช่น อุปกรณ์, กระจก, แถบควบคุม, และแม้แต่ขาตั้งข้างและตัวเร่งปฏิกิริยาในระบบไอเสีย ที่ค่อนข้างจะชี้ชัดว่างานออกแบบโดยรวมนั้นไม่ได้ออกมาเพื่อเป็นรถต้นแบบหรือรถแนวคิด แต่เป็นงานออกแบบสำหรับรถที่จะใช้ในการวางจำหน่ายที่เน้นในการผลิตจำนวนมากในระดับ Production

b8147a95780cdc3e7dc63ef64eaa7287.jpg

ไล่เรียงส่วนประกอบไปพร้อมๆ กัน มาดูกันที่ชุดโครงสร้างหลักกันสักหน่อย ตัวรถที่งานออกแบบนั้นจะมาพร้อมกับรูปแบบของโครงสร้างที่ดูคล้ายกับชุดโครงสร้าง monocoque ของ Ducati ซึ่งในคำอธิบายประกอบนั้นได้ระบุว่า โครงสร้างจะเป็นวัสดุหล่อขึ้นรูปชิ้นเดียว ซึ่งยึดเข้ากับส่วนหัวของแผงควบคุมพวงมาลัยมันถูกยึดเข้ากับเครื่องยนต์เป็นรูปตัว U กลับหัวเหนือกระบอกสูบและฝาสูบ โดยรวมเข้ากับช่องดักอากาศและตัวกรองอากาศ เช่นเดียวกับส่วนของเฟรมด้านหน้า มีเฟรมหล่อขนาดเล็กคู่หนึ่ง (หมายเลข 18) อันหนึ่งยึดเข้ากับแต่ละด้านของกล่องเกียร์ และให้เดือยสวิงอาร์มมีความแข็งแรงเพิ่มขึ้น สวิงอาร์มนั้นดูเหมือนจะเป็นแบบแขนเดี่ยว แม้ว่าจะไม่ได้ระบุไว้อย่างชัดเจนในข้อความของสิทธิบัตร ในขณะที่เอกสารระบุว่าขาตั้งข้างนั้นสามารถติดเข้ากับห้องข้อเหวี่ยงของเครื่องยนต์ได้โดยตรงหรือกับส่วนต่อขยายของส่วนเฟรมด้านหลัง

daad3d8db66f001eba3bfb52b15ba54a.jpg
e1727951c2f10ed2c88bf4add19d0071.jpg

ส่วนที่ที่เรียกว่าแตกต่างอย่างชัดเจนที่สุดบนงานออกแบบชิ้นนี้ คือเบาะนั่งและถังน้ำมันเชื้อเพลิง ซึ่งทั้งสองส่วนนั้นถูกรวมเข้ากันไว้ในชิ้นเดียว (หมายเลข 17) โดยทั้งชิ้นจะเป็นงานคาร์บอนไฟเบอร์แบบชิ้นเดียวติดเข้ากับส่วนเฟรมด้านหน้าและรองรับตัวเอง ด้วยการออกแบบแบบ monocoque เพื่อให้ผิวด้านนอกเพิ่มเป็นสองเท่าของโครงสร้าง โดยมีส่วนของเบาะนั่งผู้โดยสารที่ด้านบนFrame และตัวยึดแผ่นป้ายทะเบียนและไฟท้ายที่ซ่อนอยู่ในส่วนท้ายที่สุดของตัวรถ เมื่อพิจารณาแล้วงานออกแบบตามสิทธิบัตรที่เราเห็นนั้น จะมีชิ้นส่วนแฟร์ริ่งเพียง 4 จุดใหญ่ๆ ประกอบไปด้วยชิ้นส่วนหน้า ด้านข้างสองฝั่งและใต้ท้องเครื่องยนต์เท่านั้น ทำให้เรานึกถึงงานออกแบบรถในอดีตอย่าง Honda NR750 และ NS400R เป็นอย่างมาก

4b98b14a19c4137b64a77b00d5e0bf5e.jpg

ในส่วนอื่นๆ ของตัวรถก็มีความน่าสนใจไม่น้อย โดยเฉพาะหน้าจอแสดงผล ที่ในยุคปัจจุบันมักจะใช้หน้าจอสีแบบ TFT ในรถระดับ Superbike แต่คันนี้กลับมีความแตกต่างเล็กน้อย โดยยังคงมีหน้าจอแบบ liquid-crystal ที่ฝั่งขวา แต่มีส่วนหน้ามาตรวัดแบบอนาล็อกเข็มนาฬิกาที่วัดรอบความเร็วเครื่องยนต์สูงสุดที่ 14,000 รอบต่อนาที ซึ่งเราไม่ค่อยพบเห็นมาตรวัดแบบนี้ในยุคปัจจุบันสักเท่าไหร่ และตัวรถยังมาพร้อมกับระบบมัลติฟังก์ชั่น ที่มีส่วนควบคุมติดตั้งบนแผงประกับด้านซ้าย แต่มีลักษณะของการควบคุมที่ไม่เหมือนใคร เช่นเดียวกับปั้มบนทั้งสองฝั่ง ที่มีรูปทรงที่แปลกตาออกไป

d1906612558b6b2ad1cbc2980e38bbce.jpg

รายละเอียดทั้งหมดเหล่านี้มีความเป็นไปได้ที่จะมีการนำเสนอบนรถมอเตอร์ไซค์ CBR Fireblade รุ่นต่อไป โดยมีหลายๆ ส่วนที่จะยังคงใช้งานจากรุ่นก่อนหน้า ไม่ว่าจะเป็นเครื่องยนต์ที่ดูจาก Layout แล้วเหมือนกับเครื่องยนต์ที่ใช้งานในรุ่นปัจจุบัน เช่นเดียวกับระบบเบรก ระบบกันสะเทือน จากทั้งหมดที่เราได้เห็นกันไปนั้นคาดว่าทางผู้ผลิตเอง มีเจตนาที่จะต้องการลดน้ำหนักตัวรถโดยรวมเป็นจุดประสงค์หลัก แต่ยังรวมถึงการอ้างอิงถึงการลดต้นทุนการผลิต ซึ่งบอกเป็นนัยว่าทางค่ายปีกนกเองยังคงวางแผนการเดินหน้าโครงการ Fireblade ต่อไปในอนาคต ถึงแม้ว่าจะใกล้ช่วงเวลาในการเปลี่ยนแปลงจากเครื่องยนต์สันดาปภายในไปสู่มอเตอร์ขับกำลังไฟฟ้าในปี 2030 ก็ตาม

ขอบคุณข้อมูลและรูปภาพจาก www.cycleworld.com