Banner-Yamaha-EXCITER-2024-1150x250.gif
Banner-Yamaha-EXCITER-2024-400x300.gif

Michelin กับแผนการในการรีไซเคิลขวดพลาสติกเป็นส่วนผสมในยาง

Michelin กับแผนการในการรีไซเคิลขวดพลาสติก เป็นส่วนผสมในยางรถยนต์

เพื่อนๆ หลายท่านคงรู้จักแบรนด์ Michelin ผู้ผลิตยางสำหรับรถยนต์และมอเตอร์ไซค์ชื่อดังจากประเทศฝรั่งเศส ด้วยความที่เป็นหนึ่งในบริษัทที่มีผลประกอบการและขนาดของธุรกิจที่ใหญ่เป็นอันดับต้นๆ ของอุตสาหกรรม ล่าสุด Michelin ได้ประกาศแนวทางในการพัฒนาใหม่ ที่จะนำเอาขวดพลาสติกมาทำการรีไซเคิล เพื่อเป็นส่วนผสมในการเสริมความแข็งแรงของยางที่บริษัทเป็นผู้ผลิต

5HPLPEEVPPX22LUNRTRIACEUMQ

เชื่อได้เลยว่าน้อยคนนักที่จะไม่รู้จักกับ Michelin แบรนด์ผู้ผลิตยางสำหรับยานพาหนะชื่อดังจากเมืองน้ำหอม ต่อให้เป็นเพียงคนสามัญทั่วๆ ไปที่ไม่ได้รอบรู้เรื่องของยาง ก็ต้องจดจำของแบรนด์นี้ได้เป็นอย่างดี ด้วยความที่ตัวบริษัทนั่นก่อตั้งมาตั้งแต่ปี 1889 หรือประมาณ 131 ปีมาแล้ว รวมไปถึงการทำตลาดในทุกๆ ระดับ ไล่ไปตั้งแต่ระดับล่างและระดับ Hi-End ก็ส่งให้ภาพลักษณ์ขององค์กรต่อสาธารณะชนนั้น เป็นที่จดจำและสร้างความเชื่อมั่นได้เป็นอย่างดี

Michelin ได้ประกาศการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในกลยุทธ์และการผลิต โดยเปิดเผยว่าทางบริษัทจะก้าวเข้าสู่ความยั่งยืนในระยะยาว โดยการหันมาให้ความสนใจในการใช้วัสดุรีไซเคิลเป็นส่วนประกอบในการผลิตยางสำหรับยานพาหนะอย่างยั่งยืน โดยจะวางโครงการสำหรับการพัฒนายาวไปจนถึงปี 2050 สำหรับการพัฒนาวัสดุผสมในการผลิตแบบ 100% ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นการประกาศที่เรียกได้ว่าเป็นเรื่องที่ยากพอสมควรหากเราดูจากผลิตภัณฑ์ต่างๆในตลาดของบริษัท ณ ตอนนี้

39ab4c96298c6eb9e7750a2588077cd0

ล่าสุด Michelin ได้ประกาศความร่วมมือกับบริษัทชีวเคมี Carbios โดยใช้หลักการ Enzymatic Recycling Technology ในการแยกย่อยโมโนเมอร์บริสุทธิ์ 2 ชนิดซึ่งสามารถนำกลับมาใช้ใหม่ ซึ่งเราจะพบเจอสิ่งนี้ในขวดพลาสติกชนิด PET หรือ polyethylene terephthalate ที่เรามักจะเห็นมันเป็นบรรจุภัณฑ์สำหรับน้ำอัดลม น้ำหวาน หรือน้ำดื่ม ซึ่งเป็นขยะที่พบเจอมากเป็นอันดับต้นๆ ของโลก ซึ่งมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นทุกวันๆ

โดยการใช้เทคโนโลยี Enzymatic Recycling Technology นั้นจะได้เส้นใยคุณภาพสูง ซึ่งทาง Michelin จะนำมันมาเป็นส่วนผสมเพื่อเสริมความทนทานให้กับผลิตภัณฑ์ ซึ่งเส้นใยเหล่านี้อาจจะเข้ามาแทนที่เส้นใยสังเคราะห์ที่ทางบริษัทใช้เป็นส่วนผสมหลัก โดยในตอนแรกเริ่มนั้นอาจจะยังมีส่วนผสมของเส้นใยสังเคราะห์ที่ใช้อยู่ในปัจจุบันจำนวนหนึ่ง และจะพัฒนาไปสู่การใช้เส้นใยจากขวด PET แบบ 100% ในอนาคต

cp Michelin Road Classic 1600

Alain Marty ผู้อำนวยการด้านวิทยาศาสตร์ของ Cabios กล่าวถึงความร่วมมือครั้งนี้ไว้ว่า “ในปี 2019 เราได้ประกาศการผลิตขวด PET ขวดแรกที่มีกรดเทเรฟทาลิกบริสุทธิ์ 100% (rPTA) จากการใช้เทคโนโลยี Enzymatic Recycling Technology ซึ่งในวันนี้เรากำลังสาธิตขั้นตอนทั้งหมดของเรากับ Michelin กับการใช้เทคโนโลยีเดียวกันนี้ในการสร้างเส้นใยคุณภาพสูงสำหรับผลิตภัณฑ์ของบริษัท”

ซึ่งทาง Nicolas Seeboth ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยของ Michelin ก็ได้กล่าวถึงความร่วมมือในครั้งนี้ไว้ว่า “เราภูมิใจเป็นอย่างยิ่งที่เป็นรายแรกที่ผลิตและทดสอบเส้นใยทางเทคนิคในการเสริมความแกร่งสำหรับใช้ในยาง ด้วยเทคโนโลยีเอนไซม์ของ Carbios ซึ่งเป็นพันธมิตรของเรา การเสริมกำลังที่มีเทคโนโลยีสูงเหล่านี้ได้แสดงให้เห็นถึงความสามารถในการให้ประสิทธิภาพที่เรามักจะเห็นการทำงานในรูปแบบเดียวกันนี้ในอุตสาหกรรมอื่นๆ เช่น อุตสาหกรรมน้ำมัน”

unnamed 5

นับว่าเป็นการวางแผนเข้าสู่การเป็นผู้ผลิตที่ใส่ใจต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้นสำหรับ Michelin แต่กว่าที่เราจะได้เห็นผลิตภัณฑ์ใหม่ที่ใช้เทคโนโลยี Enzymatic Recycling Technology คงไม่ใช่ในปีสองปีนี้อย่างแน่นอน แต่เชื่อได้เลยว่า การพัฒนาใหม่ในครั้งนี้อาจจะกลายเป็นบรรทัดฐานใหม่ให้กับอุตสาหกรรมยางในอนาคตก็เป็นไปได้

ขอบคุณข้อมูลและรูปภาพจาก www.visordown.com www.rideapart.com