วิธีเลือกหมวกกันน็อค ตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงแอดแวนซ์
หมวกกันน็อค ถือเป็นสิ่งจำเป็นต่อการขับขี่ยานพาหนะประเภทมอเตอร์ไซค์มากที่สุด อีกทั้งการขับขี่ในประเทศไทย หมวกกันน็อตยังเป็นอุปกรณ์ที่จำเป็นต่อการขับขี่ ตามระเบียบข้องบังคับทางกฎหมายการจาจรทางบก ซึ่งปัจจุบันหมวกกันน็อคเองก็มีหลากหลายแบรนด์ หลากหลายรูปแบบ แต่เราจะเลือกยังไง วันนี้ Greatbiker มีคำตอบให้ครับ
ตาม พรบ.การจารจรทางบก ฉบับที่ 2 ออกเมื่อปี 2522 ได้บัญญัติคำนิยามของหมวกนริภัย หรือ หมวกกันน็อคไว้ว่า หมวกนิรภัย หมายความว่า หมวกที่จัดทำขึ้นโดยเฉพาะเพื่อป้องกันอันตรายจากการขับขี่หรือโดยสารรถจักรยานยนต์ โดยแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ประกอบด้วย
1. หมวกนิรภัยแบบเต็มหน้า (Open Face) หมายความว่า หมวกนิรภัยที่เปลือกหมวกเป็นรูปทรงกลมปิดด้านข้าง ด้านหลัง ขากรรไกร และคาง ในกรณีที่มีบังลม บังลมด้านหน้าจะต้องทำจากวัสดุโปร่งใสและไม่มีสี
2. หมวกนิรภัยแบบเต็มใบ (Full Face) หมายความว่า หมวกนิรภัยที่เปลือกหมวกเป็นรูปทรงกลมปิดด้านข้างและด้านหลังเสมอแนวขากรรไกรและต้นคอด้านหลัง ด้านหน้าเปิดใต้คิ้วลงมาตลอดถึงปลายคาง ในกรณีมีที่บังลม บังลมต้องทำจากวัสดุโปร่งใสไม่มีสี
3. หมวกนิรภัยแบบครึ่งใบ (Half Face) หมายความว่า หมวกนิรภัยที่มีเปลือกหมวกเป็นรูปครึ่งทรงกลมปิดด้านข้างด้านหลังเสมอกับระดับหู ในกรณีที่มีบังลม จะต้องทำจากวัสดุโปร่งในไม่มีสี
โดยทั้งสามรูปแบบจะต้องมีตรามาตรฐานอุตสากรรมหรือ มอก. ถึงจะสามารถใช้งานได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย ในกรณีของหมวกกันน็อคราคาแพงที่เป็นการนำเข้ามาจากต่างประเทศ ผู้นำเข้าจะต้องมีการนำผลิตภัณฑ์ไปตรวจสอบมาตรฐานอุตสาหกรรม ก่อนการจำหน่าย หากฝ่าฝืนขายผลิตภัณฑ์ที่ไม่มีมาตรฐานอุตสาหกรรมถือว่าผิดกฎหมายตาม พรบ.การจารจรทางบก มีโทษทั้งจำคุกและปรับ รวมไปถึงกรณีที่เราไปเลือกซื้อ หมวกกันน็อคจากต่างประเทศแล้วนำมาใช้งานบนท้องถนนสาธารณะในประเทศไทย หากไม่มีตรา มอก. ก็ถือว่ามีความผิด ตามกระบวนกฏหมาย พรบ. การจารจรทางบกด้วยเช่นกัน
อย่างที่เราเห็นกัน ตาม พรบ. การจารจรทางบกได้แบ่งหมวกกันน็อคออกเป็นสามรูปแบบ โดยหนึ่งในสามของรูปแบบที่บัญญัติไว้นั้น ก็คือแบบเต็มใบ เราสามารถแบ่งย่อยออกไปได้อีกหลายรูปแบบ ทั้งแบบ Full Face ที่นิยมใช้กันมากในปัจจุบัน โดยเหมาะสมกับรถมอเตอร์ไซค์แทบจะทุกแนวทาง มีหลากหลายยี่ห้ออีกทั้งยังมีการออกแบบลวดลายที่สวยงามแตกต่างกันตามแนวทางของผู้ผลิต รวมไปถึงชิ้นส่วน วัสดุ และการล็อกของสายรัดคาง ที่ส่วนใหญ่มักจะผลิตโดยเลือกใช้ระบบล็อกแบบกริปล็อก ซึ่งสวมใส่ง่าย แต่ก็มีข้อเสียคือคุณภาพของวัสดุ ที่หากไม่เป็นมาตรฐาน จะกรอบและไม่สามารถล็อกกับคางได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้ผู้ใช้งานหมวกลักษณะนี้ มักจะเลือกระบบล็อกแบบ DD Ring ที่เป็นห่วงสองห่วง และสายคล้องที่ต้องใช้ขั้นตอนที่ยุ่งยากกว่า ในการสวมใส่หรือถอดออก แต่ก็แลกมากับความปลอดภัยที่สูงกว่า
Motocross/Enduro หมวกนิรภัยสำหรับสายวิบาก หรือทางฝุ่น จะมีลักษณะพิเศษที่แตกต่างจากหมวกแบบ Full Face โดยจะมีส่วนของแก๊บหน้าหรือปีกหมวก และส่วนของที่ปิดครึ่งปากล่างที่ยื่นออกมา ป้องกันผู้สวมใส่จากการล้มในย่านความเร็วต่ำ ตามแนวทางของการใช้งาน และจะไม่มีอุปกรณ์บังลมหน้ามาให้ โดยผู้สวมใส่จะนิยมใส่แว่นที่เป็นลักษณะของ Google ทับลงไปอีกชั้น และแน่นอนว่าหมวกกันน็อคลักษณะนี้ หากเป็นเกรดที่สูงกว่าสำหรับการจำหน่ายในระดับเริ่มต้น สายรัดคางจะเป็นแบบ DD Ring เพราะด้วยการขับขี่ลักษณะของออฟโรด การเจอกับอุบัติเหตุรถล้ม หรือหลุดจากตัวรถมีสูงกว่าปกติ และระบบล็อกแบบนี้ตอบโจทย์การใช้งานที่มากกว่า ระบบล็อกแบบกริปล็อกนั่นเอง
Modular หมวกนิรภัยที่มีความคล้ายคลึงกับแบบ Full Face มากที่สุด โดยมีความแตกต่างที่สามารถเปิดส่วนของเปลือกบังคางหน้าขึ้นไปเหนือส่วนบนเป็นแบบ Open Face ได้ โดยส่วนมากจะนิยมสวมใส่ในการขับขี่รถมอเตอร์ไซค์ในแนว Sport Touer ส่วนระบบล็อกสายคาดคางจะมีให้เลือกทั้งแบบกริปล็อกและ DD Ring แต่ส่วนใหญ่แล้วมักจะเป็นแบบกริปล็อกมากกว่า เพราะด้วยความสะดวกสบายในการใช้งาน
ADV Helmet ลูกผสมระหว่างหมวกนิรภัยแบบ Full Face และ Motocross ที่จะใช้รูปทรงของหมวก Motocross แต่ลดทอนความยาวของปีกหมวก และเปลือกปิดครึ่งปากล่าง ให้สั้นลงไป ใส่อุปกรณ์บังลมด้านหน้า ซึ่งในวิสัยทัศน์ในการมองที่กว้างกว่าหมวกแบบเต็มใบ จนแทบจะเท่าๆ กับหมวกแบบ Motocross ซึ่งในปัจจุบันมีการพัฒนามากขึ้นผสมผสานเอาข้อดีของหมวกแบบ Modular เปิดคางได้มาผสมแล้วในบางผู้ผลิต นิยมมากในหมู่ผู้ขับขี่รถมอเตอร์ไซค์ในแนว ADV, Touring ADV, Super Moto หรือแม้กระทั้งในแนว Naked ก็พอมีคนสวมใส่ให้เห็นกันอยู่พอสมควร
ส่วนวิธีเลือกใช้งานนั้น ก่อนอื่นเลยเราคงต้องหาให้ให้ได้ก่อนว่า เราชอบหมวกแบบใดและมันเหมาะสมกับยานพาหนะที่เราขับขี่หรือไม่ อย่างเช่นหากเพื่อนๆ ขับขี่รถในแนว ADV อยู่แต่อยากใช้งานหมวกกันน็อคแบบ Half Face คงไม่เหมาะสมนักคงต้องเลือกอย่างน้อยๆ ก็ต้องแบบ Full Face ที่สามารถเข้ากันได้ดีกับรถมอเตอร์ไซค์ในทุกๆ แนวทาง หรือในกรณีที่เพื่อนๆ ขับขี่รถ Superbike การเลือกใช้งานหมวกแบบ ADV หรือ Motocross ก็คงไม่เหมาะสมเพราะทั้งสองแบบนี้มีน้ำหนักที่ค่อนข้างมาก อาจจะทำให้การขับขี่ของเพื่อนๆ นั้นไม่สนุกแถมยังเกิดอาการเมื่อยต้นคอเพราะต้องตั้งคอต้านทานแรงลมจากการประทะในการขับขี่อีกด้วย
ส่วนเรื่องขนาดนั้น หลายๆ คนอาจจะมองว่าไม่ค่อยสำคัญ แต่ในความเป็นจริงแล้ว ขนาดมีความสำคัญไม่แพ้รูปแบบเลยแม้แต่น้อย ปัจจุบันมีหน่วยวัดหลากหลายแบบ ทั้งแบบเป็นไซส์ S, M, L, XL หรือ XXL อีกทั้งยังมีขนาดเป็นนิ้ว โดยวัดจากกระหม่อมซ้ายวนรอบศรีษะจะได้ขนาดของศีรษะของผู้ขับขี่ โดยการซื้อหมวกกันน็อคทุกครั้งมีความจำเป็นที่สุดที่จะต้องลองสวมใส่มันก่อนซื้อทุกครั้ง โดยทางร้านที่มีคุณภาพจะมีบริการถุงลองที่จะครอบส่วนศีรษะของผู้สวมใส่และทดลองสวมได้ตามความต้องการ หากร้านให้ไม่เปิดโอกาสให้ลองก่อนซื้อ ทางเราคิดว่าไปหาร้านอื่นจะดีกว่าครับ โดยการลองสวมใส่ก่อนซื้อนั้น ขนาดของหมวกจะต้องไม่คับจนเกินไป โดยจะต้องไม่มีการบีบที่บริเวณขมับหรือส่วนแก้มของผู้สวมใส่จนมากเกิดไป โดยวิธีทดลองง่ายคือให้เพื่อนหรือผู้ขายจับส่วนปิดครึ่งปากล่างแล้วลองสะบัดไปมา หากเกิดอาการคอบิดไปมาจนมากเกินไปแสดงว่าหมวกอันนั้นขนาดไม่พอดีกับศีรษะของผู้สวมใส่
สิ่งที่ควรจดจำมากที่สุดก็คือ “ไม่ควร” เลือกขนาดหมวกกันน็อคที่หลวมไป แต่ควรจะให้พอดีกับศรีษะเรามากที่สุดโดยทดลองแบบเดียวกับขั้นตอนข้างต้นหากสะบัดไปมาแล้ว ช่องด้านหน้าของหมวกเกิดอยู่ผิดที่หรือหมวกมีการขยับจนไปบังวิสัยทัศน์ก็แสดงว่า หมวกใบนั้นไม่พอดีกับศรีษะของเรา และควรปรับลดขนาดลง หรือไม่ก็ทำการเสริมฟองน้ำด้านใน เพื่อให้มีความกระฉับที่มากกว่า
อีกหนึ่งสิ่งที่หลายๆ คนยังคงเข้าใจผิดอยู่คือ ชิลด์บังลมด้านหน้าของหมวกกันน็อคควรเลือกที่ใช้ฟิลม์ที่ทึบเพื่อลดทอนระดับแสงของแดดประเทศไทย ซึ่งคามกฎหมายการจารจรทางบกของบ้านเรานั้น อนุญาตให้สามารถใช้ชิลด์หน้าได้เพียงไม่กี่แบบ โดยจะต้องเลือกใช้ชิลด์หน้าที่มีลักษณะเป็นสีใส สีชา หรือสีควันบุหรี่เท่านั้น ไม่สามารถใช้สีดำหรือสีปรอทแบบนักแข่งในสนามได้ เพราะด้วยความปลอดภัยในการขับขี่ยามวิกาล ที่ชิลด์หน้าลักษณะนี้จะทอนระดับแสงออกแทบจะทั้งหมด ทำให้วิสัยทัศน์ในการมองเห็นในสภาพแสงน้อย ลดต่ำลงไปด้วย แต่สิ่งที่เข้ามาทดแทนคือ อุปกรณ์แว่นกันแดดภายในหมวกกันน็อคหรือ Internal Sun Riser ซึ่งสามารถใช้สีใดก็ได้ไม่ถือว่าผิดกฎหมายแต่อย่างใด
เท่านี้ก็น่าจะพอเป็นตัวช่วยเพื่อนๆในการเลือกหมวกนิรภัยหรือ หมวกกันน็อคได้ไม่มากก็น้อยนะครับ ทั้งนี้ในตลาดปัจจุบันมีหมวกมากมายหลายยี่ห้อ โดยมีคุณลักษณะพิเศษที่แตกต่างกัน รวมไปถึงในเรื่องของราคาจำหน่ายด้วย ดังนั้นแล้วเพื่อนที่กำลังมองหมวกกันน็อคคู่ใจใบใหม่อยู่ในตอนนี้ อย่างพึ่งตามกระแสว่าจะเอาของราคาแพงเสมอไป เลือกที่เหมาะสมกับกำลังที่อยู่กระเป๋าเงินของเพื่อนๆ เพราะในปัจจุบันของดีราคาถูกก็พอจะมีให้เห็นในท้องตลาดอยู่หลายยี่ห้อเลยทีเดียว

Keattisak Ngamkham – Writer, automotive journalist with experience The whole motorcycle industry and the motorsport industry Expert in doing reviews of all types of motorcycles.