Banner-Yamaha-Fazzio-X-Fila-2024-1150x250.gif
Banner-Yamaha-Fazzio-X-Fila-2024-400x300.gif

Corrado Cecchinelli ผู้อำนวยการเทคนิค กล่าวถึงการปรับปรุงกฎ Aerodynamic ของ MotoGP 2020!

Zew1nV.jpg
เมื่อเร็วๆนี้ผู้สื่อข่าวต่างประเทศได้รายงานความคืบหน้าของการประชุมปรับปรุงกฎกติกาจะมีอะไรเปลี่ยนไปบ้างในการแข่งขัน MotoGP ในปีหน้า 2020 นี้ นั่นคือประเด็นคำถามสำคัญ ที่เราจะมาหาคำตอบกันในวันนี้

สำหรับประเด็นเรื่องของชิ้นส่วน Aerodynamic (แอโรไดนามิก) ในรถแข่งของโมโตจีพีในปีนี้ ถือว่าเป็นประเด็นที่หลายๆฝ่ายจับตามองอย่างมาก เพราะเป็นเรื่องที่มีผลต่อการแข่งขัน มีผลต่อการตัดสินผู้แพ้ชนะ และส่วนที่สำคัญคือมีผลต่อความปลอดภัยโดยรวมของการแข่งขัน ดังนั้นในโอกาสนี้ทาง Dorna ผู้จัดการแข่งขันและผู้ควบคุมกฎระเบียบ จึงได้จะดการพูดคุยหาข้อสรุปเกี่ยวกับเรื่องนี้อย่างจริงจัง โดยจากการที่ Dorna ผู้จัดการแข่งได้ร่วมหารือเรื่องความเปลี่ยนแปลงในหลายๆด้าน ได้มีการพูดคุยถกเถียงกันจากหลายฝ่าย และรวมถึงตัวแทนทีมโรงงาน 5 จาก 6 โรงงานก็เข้าร่วมประชุมครั้งนี้ด้วย

และเมื่อการประชุมจบลง โดยข้อปรับปรุงกฎปี 2020 ฉบับเต็มนั้นยังไม่เสร็จสมบูรณ์จนพร้อมที่จะเผยแพร่สู่สาธารณะ แต่ผู้สื่อข่าวต่างประเทศก็ได้มีสอบถามข้อมูลและรายละเอียดเบื้องต้นของการประชุมนี้ ผ่านบทสัมภาษณ์ของ Corrado Cecchinelli ผู้อำนวยการด้านเทคโลยีของ Dorna ในประเด็นของข้อตกลงเรื่อง ระบบอิเล็กทรอนิกส์ และ Aerodynamic ในอนาคตZewjdJ.jpg

ผู้สื่อข่าว: สำหรับทีมแข่งมีกฎที่ไม่สามารถปรับปรุงระบบอิเล็กทรอนิกส์ด้วยตัวเองได้ แต่พวกเขาสามารถตั้งโปรแกรมของรถให้เหมาะกับแต่ละสนามได้ ไม่ทราบว่าในอนาคตมีแผนที่จะแบนการตั้งค่าโปรแกรมตามสนามเหล่านี้หรือไม่?

Corrado Cecchinelli: ไม่ครับ เราเชื่อว่าพื้นฐานของกฎนี้มันเหมาะสมดีแล้ว ซึ่งมันสามารถช่วยลดช่องว่างทางเทคนิคของแต่ละทีมลงได้

โดยเราไม่มีแผนการปรับปรุงกฎนี้ในระยะยาวเพราะตัวซอฟแวร์หลักๆนั้นมีความเสถียรดีอยู่แล้ว แต่แน่นอนว่าเราจะมีการปรับปรุงเล็กๆน้อยๆอยู่เสมอ แต่จะไม่ไปเปลี่ยนแปลงอะไรใหญ่ๆอย่างการเพิ่ม Traction Control เป็นต้น

ซึ่งนั่นหมายรวมถึงกล่อง ECU ของ Moto2 ในปีหน้าด้วย จะไม่มีการใช้ Traction Control เว้นแต่จะมีสัญญาณของปัญหาที่เราต้องแก้ไข ซึ่งตอนนี้ยังดีอยู่ไม่มีปัญหาอะไร

ผู้สื่อข่าว: พูดปัญหาในเรื่องของ Aerodynamic มีปัญหาอะไรบ้างครับ?

Cecchinelli: ปัญหาคือเราตีความกรอบของมันได้ไม่ชัดเจน ดังนั้นเราต้องปรับกรอบให้แคบลง

ซึ้งถ้าให้พูดตามตรง นั่นไม่ใช่เรื่องยากที่จะแก้ไขปัญหาเรื่องกรอบนิยามนี้ เพราะทุกโรงงานต่างให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี

แต่อย่าคาดหวังว่ามันจะไม่มีช่องโหว่อีกในอนาคต เพราะช่องโหว่นี้เป็นเรื่องปกติที่มันมักจะมีอยู่เสมอในกฎต่างๆ เพราะหลายๆคนในทีมโรงงานก็ต้องการผลักดันรถของพวกเขาขึ้นไปอีกขั้นเสมอ โดยอาจจะมีการอาศัยช่องว่างในกฎเหล่านี้

ซึ่งมันก็เป็นเหมือนการคอยไล่อุดรูรั่วที่เราไม่อาจเห็นได้จนกว่ามันจะโผล่ออกมา ดังนั้นกฎของเราก็จะต้องมีการเปลี่ยนแปลงอีกแน่นอนในอนาคต แต่หวังว่ามันจะไม่ใช่ในเร็ววันนี้

ผมยังหวังอีกว่าจะเป็นตัวแทนของทุกโรงงานเพื่อบอกว่า พวกเขารู้สึกแฮปปี้มากๆกับ มาตรฐานใหม่ของเรา เพราะมันมีกรอบข้อตกลงที่ชัดเจนมากยิ่งขึ้น

Zewt4E.jpg

ผู้สื่อข่าว: ที่บอกว่าชัดเจนขึ้น หมายความว่า มีการกำหนดจำนวนของชิ้นส่วน Aerodynamic อย่างชัดเจนเลยใช่ไหมครับ?

Cecchinelli: ใช่ครับ เราได้ลงรายละเอียดข้อจำกัดในด้านมิติของแต่ละชิ้นส่วน ซึ่งจะเป็นกรอบในอนาคตโดยเรายังเคารพการออกแบบแฟริ่งที่ใช้กันในตอนนี้ ด้วยการนำมันมาเป็นต้นแบบ และตรวจวัดด้วยความแม่นยำ ซึ่งทำให้ตอนนี้ไม่มีใครต้องก้าวถอยหลังจากสิ่งที่พวกเขาได้สร้างขึ้นมาแล้ว

ผู้สื่อข่าว: นั้นหมายความว่า ในอนาคตจะมีการจำกัดมุมองศาและรูปทรงของปีกด้วยใช่ไหมครับ?

Cecchinelli: ใช่ครับ เราได้กำหนดไว้หมดแล้ว ทั้งรัศมี มุมองศา และอื่นๆ เราจะมีพื้นที่กำกึ่งผิดกติกาน้อยลงแต่ว่าก็จะยังมีพื้นที่นั้นเหลืออยู่บ้าง

ขอยกตัวอย่างจากการแข่ง Formula One (F1) ที่พวกเขานั้นมีประสบการณ์เรื่อง Aerodynamic มากกว่าเราเป็นสิบๆปี แต่ทุกวันนี้พวกเขาเองก็ยังมีปัญหาไม่หยุดหย่อน

ดังนั้นมันจึงมักจะมีคนที่ฉลาดกว่าผู้จัดอย่างเราเสมอ ซึ่งพวกเขาจะคอยอาศัยช่องว่างกำกึ่งผิดกติกาเหล่านี้ มาสร้างความได้เปรียบอยู่เรื่อยๆ และนั้นเป็นหน้าที่ที่ผู้จัดการแข่งขันอย่างเราต้องจับให้ได้ไล่ให้ทัน ซึ่งผมคิดว่ากฎใหม่ที่เราได้ทำขึ้นนั้นมันดีมาก หมายความว่ามันไม่ได้แย่ แต่ก็ไม่สมบูรณ์แบบ

ผู้สื่อข่าว: งั้นก็หมายความว่า ชุดพาร์ท Aerodynamic ทั้งหมดของปีนี้จะถูกกติกาทั้งหมดจนถึงปีหน้าเลยใช่ไหมครับ?

Cecchinelli: ถูกต้องครับ ไม่มีใครต้องเปลี่ยนดีไซน์ของรถเลย

ZewwQN.jpg

ผู้สื่อข่าว: รวมถึง ‘สวิงอาร์มสปอยเลอร์’ (Swingarm Spoiler/Spoon/Chin)* ด้วยใช่ไหมครับ?
*เป็นเล่นชื่อของชิ้นส่วนนี้ในภาษาอังกฤษ ซึ่งหมายถึงชิ้นส่วนเดียวกัน

Cecchinelli: ใช่ครับชิ้นส่วนนี้ไม่ผิดกติกา แต่ตอนนี้เราก็จะต้องทำให้มันเป็นชิ้นส่วนมาตรฐานให้เหมือนกันหมดทุกคัน ดังนั้นถ้าคุณเปลี่ยนดีไซน์ของ ‘สวิงอาร์มสปอยเลอร์’ รวมถึงทำให้มันสามารถถอดเข้า-ออกได้ง่ายดายและหมดจด ก็จะนับว่าเป็นการเปลี่ยนชิ้นส่วนหนึ่งในจุดนั้นของฤดูกาลแข่งขันนี้

ผู้สื่อข่าว: ถ้าอย่างนั้นจุด Aerodynamic ใต้สวิงอาร์มนี้จะถูกกำหนดเพิ่มในกติกาด้วยใช่ไหมครับ?

Cecchinelli: ใช่ครับ ซึ่งอย่างที่ทราบกันว่าเราจะแยกจุดต่างๆภายนอกของมอเตอร์ไซค์ ที่ทำการติดชิ้นส่วนเหล่านี้ และเรียกว่า ‘แอโรบอดี้’ (Aero Body) ซึ่งแต่ละจุดนั้นจะได้รับอนุญาตให้เปลี่ยนดีไซน์ได้ 1 ครั้งเท่านั้น ตลอดฤดูกาลแข่งขัน

ซึ่งในปัจจุบันนี้ เรามีแอโรบอดี้นี้อยู่สองจุดได้แก่ แฟริ่งหน้า และบังโคลนล้อหน้า ซึ่งในปีหน้านี้จะครอบคลุมไปถึงสวิงอาร์มด้วย และอาจจะมีการเพิ่มเติมจุดอื่นๆอีก ซึ่งเป็นจุดใดก็ตามที่มีผลกับอากาศพลศาสตร์ของตัวรถ เช่น ครอบโช๊คหน้า ที่จะอนุญาตให้ขึ้นรูปทรงใหม่เพื่อใช้ประโยชน์จาก Aerodynamic ได้ ซึ่งแน่นอนว่ามันจะเปลี่ยนดีไซน์ได้แค่ครั้งเดียวเท่านั้นตลอดฤดูกาลอย่างที่บอก

ZewZdQ.jpg

ผู้สื่อข่าว: วลีที่ว่า ‘จุดใดก็ตามที่มีผลกับอากาศพลศาสตร์ของตัวรถ’ คงจะมีการถกเถียงกันไม่น้อย เพราะดูเหมือนทุกๆจุดของรถก็ต่างมีการสัมผัสกับอากาศรอบตัวรถทั้งนั้น คุณคิดเห็นอย่างไรครับ?

Cecchinelli: จริงครับที่ว่ามันจะเป็นวลีที่ตีความได้ไม่ชัดเจน และอาจจะสร้างความซับซ้อนยุ่งยากสำหรับตอนนี้ แต่ว่าในอนาคตมันจะชัดเจนขึ้นแน่นอนครับ

เพราะโดยพื้นฐานแล้ว ส่วนประกอบของต่างๆของรถนั้นมีหน้าที่หลักของมันอยู่เช่นอุปกรณ์ควบคุม หรือตัวส่งกำลัง ส่วนประกอบอื่นใดที่มีเพิ่มขึ้นโดยไม่ใช่อุปกรณ์พื้นฐานที่จำเป็นของรถ จะถูกตีความว่าเป็น แอโรบอดี้ทั้งหมดครับ

แต่ถ้าหากมีคนดัดแปลงสวิงอาร์มรถให้มีสปอยเลอร์ติดมาเป็นชิ้นเดียวกัน สวิงอาร์มชิ้นนี้ก็จะต้องถูกนับว่าเป็น แอโรบอดี้ ทั้งชิ้นเลย และนั้นจะทำให้เขาต้องวังอย่างมากเพราะอย่างที่บอกว่า แอโรบอดี้ หรือสวิงอาร์มชิ้นนี้จะสามารถเปลี่ยนได้ครั้งเดียวเท่านั้น

ผู้สื่อข่าว: ไม่ทราบว่าทาง Dorna มีแผนจะเปลี่ยนแปลงกติกาทางเทคนิคเพื่อเตรียมต่อสัญญากับทีมโรงงานในปี 2022 หรือไม่?

Cecchinelli: สำหรับประชุมปรับกติกาทางเทคนิคครั้งนี้มีจุดประสงค์ที่จะสร้างเสถีรยรภาพของการแข่งขันในระยะยาว ซึ่งจะยาวนานไปกว่าสัญญาของเราที่จะหมดลงในปี 2021นี้ โดยเราคาดหวังว่ามันจะเป็นกติกาที่สมบูรณ์โดยเฉพาะกับเรื่องของ Aerodynamic ที่เราจำเป็นต้องระบุไว้ให้ชัดเจน ซึ่งการปรับปรุงครั้งนี้ไม่ได้ไปเปลี่ยนแปลงเรื่องสำคัญๆในกติกาเดิมเลยแม้แต่น้อย

ซึ่งสัญญาของเรานี้เป็นการตกลงร่วมกันหลายฝ่ายโดยเฉพาะกับ สหพันธ์จักรยานยนต์ระหว่างประเทศ หรือ FIM และทีมโรงงานทั้งหลาย ซึ่งทางฝ่าย Dorna ของเราก็ไม่ได้เป็นผู้ออกกฎกติกาแต่เพียงผู้เดียว แต่เรามีหน้าที่ที่จะรักษาเสถียรภาพของกติกาให้ดีที่สุดถึงแม้เราจะหมดสัญญาไปแล้วก็ตาม เราจึงไม่ได้มีแผนที่จะรอการปรับปรุงครั้งใหญ่เฉพาะเมื่อจะต่อสัญญาใหม่เท่านั้น

ผู้สื่อข่าว: จะไม่มีการจำกัดความเร็วสูงสุดใช่ไหมครับ

Cecchinelli: ไม่มีครับ มันไม่ใช่สิ่งที่เราคุยกันในวันนี้ และมันก็ไม่ใช่แผนที่เราวางไว้ในอนาคตครับ

ขอบคุณข้อมุลและรูปภาพประกอบจาก www.asphaltandrubber.com www.motorcyclenews.com www.motogp.com