7 ข้อผิดพลาดที่มักเกิดกับไบค์เกอร์มือใหม่
การขับขี่มอเตอร์ไซค์ของผู้คนในยุคที่สามารถหาซื้อและสามารถจับต้องได้ง่ายนั้น มักจะถูกละเลยในเรื่องของความเข้าใจในการขับขี่ รวมไปถึงความปลอดภัยทั้งของตัวผู้ขับขี่เองและผู้โดยสารบนท้องถนนทั่วไป โดยวันนี้ทีมงาน GreatBiker จะขอนำเอาข้อผิดพลาดที่มักจะพบเจอกันในนักบิดมือใหม่ให้เพื่อนๆ ได้ไปลองปรับใช้กันดูครับ
การละเลยป้ายสัญญาณจราจร
บอกได้เลยว่าในบางครั้งพวกมือเก๋าทั้งหลายก็มองข้ามสิ่งนี้กันไป โดยส่วนใหญ่นั้นบรรดาป้ายสัญญาณจราจรต่างๆ นั้นเราจะต้องได้รับการอบรมจาก กรมการขนส่ง ตั้งแต่การสอบใบขับขี่ แต่ในการขับขี่ในชีวิตประจำวันที่เรามักจะใช้ความคุ้นเคยของเส้นทาง จนบางครั้งเราเองจะละเลยการอ่านป้ายสัญญาณพวกนั้น ไม่นับรวมการขับขี่ออกทริปในเส้นทางที่เราไม่คุ้นเคยและยังละเลยการอ่านป้ายเตือนต่างๆ นาๆ ซึ่งอาจจะส่งผลในการขับขี่ที่อาจจะเป็นอันตรายได้
ขับขี่จี้คันหน้ามากเกินไป
ในการขับขี่บนท้องถนนสาธารณะแล้ว การขับขี่ที่ไปเข้าใกล้หรือภาษาชาวบ้านที่เรียกกันติดปากว่า “จี้ตูด” ซึ่งมันเป็นอะไรที่อันตรายมากๆ โดนการจี้ตูดคันหน้ามาเกินไปนั้นจะทำให้เราไม่สามารถมองเห็นทัศนะวิสัยข้างหน้ารถคันนั้นได้เลย หากรถคันที่เราจี้อยู่นั้นเกิดเบรกแบบกะทันหันหรือการหักเลี้ยวแบบฉุกเฉินนั้น มีเปอร์เซ็นต์น้อยมากที่เราจะสามารถคอนโทรลรถหลบหลีกได้ทัน จนอาจจะไปชนท้ายและได้รับบาดเจ็บกันได้นั่นเอง ซึ่งการขับขี่บนท้องถนนจริงๆ เราควรจะขับขี่โดยชิดด้านใดด้านหนึ่งเพื่อให้มองเห็นเหตุการณ์ด้านหน้า เพื่อการคาดการณ์การเกิดเหตุในอนาคตได้และสามารถสร้างเวลาในการตัดสินใจในการหลบหลีกนั่นเอง
กำคลัทซ์ตลอดเวลา
เรื่องนี้ถือได้เลยว่าเป็นกันแทบทุกคนเลยทีเดียว โดยเฉพาะคนที่พึ่งเปลี่ยนจากรถออโต้คลัทซ์มาเป็นแบบคลัทซ์มือ ซึ่งเหตุผลหลักๆ ก็คือกลัวรถดับนั่นเอง ซึ่งแน่นอนว่าการกำคลัทซ์นั้นจะส่งผลทำให้เกิดอาการรอบเครื่องหมุนฟรี ซึ่งแน่นอนว่าจะไม่มีแรงฉุดทำให้ยากต่อการควบคุมและส่งผลให้เกิดอุบัติเหตุได้ง่ายๆ
การใช้เกียร์ผิดจังหวะ
ปัญหานี้ถือว่าเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นบ่อยๆในมือใหม่ ไม่ว่าจะเป็นการออกตัวด้วยเกียร์ 2 หรือการเข้าเกียร์ 7 รวมไปถึงการเปลี่ยนเกียร์ในจังหวะที่รอบเครื่องยังหมุนรอบไม่ได้ที่เท่าที่ควร ซึ่งเหตุการณ์เหล่านี้อาจจะไม่ส่งผลร้ายแรงอะไรมากมายนัก แค่อาจจะทำให้เสียจังหวะของรอบเครื่องยนต์ โดยอาจจะส่งผลเพียงการสิ้นเปลืองอัตราน้ำมันเชื้อเพลิงเท่านั้น โดยในรถมอเตอร์ไซค์ในยุคปัจจุบันนั้นก็พยายามแก้ปัญหานี้กันพอสมควรทั้งการใส่ ตำแหน่งเกียร์บนหน้าจอแสดงผล รวมไปถึง ไฟเตือนการเปลี่ยนเกียร์เมื่อรอบของเครื่องยนต์นั้นถึงจังหวะที่สมควร
ไม่ใช้ Engine Brake ในการขับขี่
ข้อนี้คาบเกี่ยวมากับเรื่องของการใช้คลัทซ์ ซึ่งแน่นอนว่าการกำคลัทซ์นั้นจะเกิดอาการหมุนฟรีในเครื่องยนต์จนเกิดสถานะเกียร์ว่างแบบกร่ายๆ ซึ่งมันไม่มีแรงฉุดใดๆ เกิดขึ้นเลย ซึ่งมันมีผลอย่างมากในการขับขี่รถมอเตอร์ไซค์ โดยการฝึกฝนนั้นเป็นเรื่องสำคัญอย่างมาก ซึ่ง Engine Brake นั้นนอกเหนือจากการช่วยให้รถนั้นชะลอตัวและลดความเร็วได้นั้นยังช่วยลดการสึกหรอของระบบเบรกที่เราต้องใช้ให้หนักมากขึ้นในการหยุดรถแต่ล่ะครั้งโดยปราศจาก Engine Brake
การอยู่ในทางโค้ง
อีกหนึ่งปัญหาที่เรามักจะพบเจอกันอย่างมาก ก็คือ ความเร็วที่ใช้ในเวลาที่เข้าโค้งและอยู่ในโค้ง ก่อนอื่นเลยเราต้องเรียนรู้ท่าทางในการขับขี่เส้นทางโค้งให้เข้าใจก่อนว่ามันมีกี่รูปแบบ และแต่ล่ะรูปแบบนั้นใช้ในสถานการณ์แบบไหน และใช้อย่างไร ซึ่งมันจะสอดคล้องกันในเรื่องของความเร็วตั้งแต่จังหวะก่อนเข้า กลางโค้ง และทางออกโค้ง ซึ่งการเรียนและฝึกฝนจนเกิดความชำนาญคือทางแก้ไขที่ดีที่สุด
การมองและวิสัยทัศน์
บอกได้เลยว่านี้คือปัญหาที่ใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยพบเจอมาด้วยตัวผู้เขียนเอง โดยทั่วไปการขับขี่มอเตอร์ไซค์นั้นเราจะต้องมีมุมมองที่กว้างและไกล ซึ่งผู้คนส่วนมากนั้นจะละเลยสิ่งนี้และจะมองเพียงเส้นทางข้างหน้าเพียงอย่างเดียว โดยไม่สนใจต่อสิ่งรอบข้างและการคาดการณ์ถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นข้างหน้า ยกตัวอย่างการเข้าโค้งสายตาเรานั้นต้องจับไปที่ทางเข้าและทางออกโดยต้องมองและคาดการล่วงหน้าไว้ โดยมือใหม่มักจะมองแต่เพียงด้านหน้าเท่านั้นโดยใช้สัญชาตญาณไปเสี่ยงเอาข้างหน้า ซึ่งมันจะเกิดอุบัติเหตุได้ วิธีการแก้ไขก็คือปรับเปลี่ยนการมองในการขับขี่พยายามและดูเส้นทางให้กว้างขึ้นและไกลขึ้น
เป็นยังไงกันบ้างครับกับข้อผิดพลาดที่เรามักจะพบเจอกันบ่อยๆ มีใครเป็นมากกว่า 1 หัวข้อบางไหม ยังไงก็ไปลองปรับแก้กันดูนะครับ รับรองได้เลยว่าเพื่อนๆ จะสามารถขับขี่ได้อย่างสบายๆ และปลอดภัยมากขึ้นอย่างแน่นอน ใครมีแนวทางปฏิบัติดีๆ หรือข้อคิดเห็นกันอย่างไรก็สามารถลงความคิดเห็นกันได้ที่แฟนเพจ GreatBiker ได้เลยครับผม
ขอบคุณข้อมูลและรูปภาพจาก www.motorcyclenews.com
Keattisak Ngamkham – Writer, automotive journalist with experience The whole motorcycle industry and the motorsport industry Expert in doing reviews of all types of motorcycles.