Banner-Yamaha-Fazzio-X-Fila-2024-1150x250.gif
Banner-Yamaha-Fazzio-X-Fila-2024-400x300.gif

เตรียมตัวให้พร้อม ก่อนการแข่ง MotoGP จะเกิดขึ้นในไทย

5b4b6d2897acd5.34189035

สุดยอดการแข่งขันมอเตอร์ไซค์ทางเรียบชิงแชมป์โลก MotoGP ซึ่งที่ว่าเป็นรายการที่ดีที่สุดในโลก จัดมาต่อเนื่องยาวนานกว่า 80 ปี โดยเริ่มต้นการแข่งขันในฤดูกาลแรกในปี 1949 ภายใต้รายการ World Champion Motorcycles Grand Prix และได้เปลี่ยนมาเป็น MotoGP ในปี 2002 และสำหรับไฮไลท์สำคัญก็คือในการแข่งขันปี 2018 นี้ประเทศไทยได้ถูกบรรจุเป็นหนึ่งในสนามการแข่งขันของรายการนี้ด้วยเป็นครั้งแรก ที่สนามช้าง อินเตอร์เนชันแนล เซอร์กิต บุรีรัมย์ จึงนับว่าเป็นประวัติศาสตร์หน้าใหม่ของวงการมอเตอร์สปอร์ตบ้านเรา วันนี้ทาง GreatBiker ขอพาเพื่อนๆ ไปเตรียมความพร้อมก่อนที่จะชมการแข่งขันกัน เพื่อที่จะทำให้เราได้เข้าใจและดูการแข่งขันได้สนุกแบบสุดขีดนั่นเอง

N6sa8v.jpg
ทำความเข้าใจการแข่งขัน

โดยทั่วไปแล้วส่วนใหญ่จะชื่นชอบรับชมการแข่งขันในวันจริง ซึ่งจะตรงกับวันอาทิตย์ในการแข่งรายการต่างๆ แต่มีไม่มากเท่าไหร่นักที่จะรู้ว่าจริงๆ แล้ว MotoGP เค้าเริ่มแข่งกัน 3 วัน โดยแบ่งออกเป็น

วันที่ 1 : Practice Day ที่จะเป็นวันซ้อมก่อนการแข่งขันจะมีรอบ FFP1 – 2 โดยแต่ละรอบนั้นจะมีการจับเวลา 45 นาที ต่อการซ้อม 1 รอบ

วันที่ 2 : Qualifying Day โดยจะมีการฝึกซ้อมทั้งสิ้น 2 รอบ ในรอบ FFP3-4 ซึ่งในรอบ FFP3 นั้นจะใช้เวลาทั้งสิ้น 45 นาที และ 30 นาที ใน FFP4 โดยในรอบ FFP3 จะมีการจับเวลาหา 10 นักแข่งที่ทำเวลาในแต่ Sector ได้ดีที่สุด เข้าสู่รอบ Q2 (Qualify 2) โดยในรอบ Q2 นั้นถือว่าเป็นการที่ผู้แข่งขันจะได้ออกสตาร์ทในตำแหน่งต่างๆ และหากใครสามารถเข้าไปในรอบ Q2 ได้จะการันตีการออกสตาร์ทที่เส้นที่ 12 เป็นอย่างต่ำ (หากไม่ทำผิดกฎและสะสมคะแนนครบตาม มาตราที่ตกลงกันไว้) โดยนักแข่งที่ไม่ได้ไปรอในรอบ Q2 นั้นจะต้องผ่านการ Q1 (Qualify 1) โดยจะหา 2 นักแข่งที่ทำเวลาได้ดีที่สุดเข้าไปยังรอบ Q2 สมทบกับนักแข่ง 10 คนที่ผ่านเข้ารอบไปก่อนหน้านี้  โดยกำหนดเวลาของ Q1 นั้นจะอยู่ที่ 15 นาที และ Q2 อีก 15 นาที โดยนักแข่งจะออกมาวิ่งในช่วงเวลาใดก็ได้ภายใน 15 นาที ที่กำหนดไว้ โดยสามารถกลับเข้าไปพัก และออกมาวิ่งใหม่ โดยห้ามให้มีการปรับแต่งตัวรถในขณะที่เข้าไปพักใน Pit

วันที่ 3 : Race Day จะมีการออกไปวิ่ง 2 รอบ คือ Warm Up จะเป็นการออกวิ่งครั้งสุดท้ายและทำการเซ็ทอัพรถเป็นครั้งสุดท้ายก่อนการแข่งขันจริง และในรอบ Race เข้าสู่การแข่งขันที่จะเป็นการแข่งขันจริง ซึ่งการชมแบบต่อเนื่องทั้ง 3 วันในการแข่งขันนั้นจะทำให้เราได้เห็นถึงพัฒนาการของบรรดานักแข่งและทีมแข่งอย่างชัดเจน และจะได้เห็นการแก้ปัญหาต่างๆ ที่ทางทีมงานและนักแข่งนั้นจะแก้ไขเพื่อให้ตัวเองไปได้เร็วที่สุดในสนามการแข่งขันนั่นเอง

N6smtS.jpg

การให้คะแนนหลังจบการแข่งขัน

คะแนนการแข่งขันนั้นถูกวางระบบไว้โดยผู้ชนะในแต่ละสนามจะได้รับ 25 คะแนน อันดับที่สอง 20 คะแนน และอันดับที่สาม 16 คะแนน โดยจะลดระดับของคะแนนลงไปเรื่อยจนถึงผู้เข้าเส้นชัยที่อันดับ 15 จะได้ 1 คะแนน หากใครเข้าเส้นชัยต่ำกว่าหรือไม่จบการแข่งขันไม่ว่ากรณีใดจะไม่ได้รับคะแนนแม้แต่คะแนนเดียว

N6sXqk.jpg

 กติกาการแข่งขัน

  • นักแข่งจะต้องมีอายุไม่น้อยกว่า 18 ปี และไม่เกิน 50 ปี
  • รถที่ใช้ในการแข่งขันจะต้องมีขนาดเครื่องยนต์ไม่ต่ำกว่า 800 ซีซี และไม่เกิน 1,000 ซีซี
  • ห้ามติดตั้งระบบ Super Charger หรือ Turbo หรือระบบแปรผันของการอัดอากาศมาใช้ในการแข่งขันโดยเด็ดขาด
  • ห้ามให้ทีมแข่งขันใช้ชิ้นส่วนแฟร์ริ่งและตัวถังรถที่ผลิตจากวัสดุ ไทเทเนียม
  • ห้ามใช้หัวหรือกระบอกลูกสูบที่ผลิตจาก คาร์บอน
  • น้ำหนักของตัวรถเมื่อรวมกับของเหลวแล้วจะต้องมีน้ำหนักไม่น้อยกว่า 157 กิโลกรัมขึ้นไป
  • เครื่องยนต์ต่อ 1 นักแข่งสามารถใช้ได้สูงสุด 5 เครื่องต่อหนึ่งฤดูกาลเท่านั้น หากใช้เกินจะต้องถูกลงโทษด้วยการออกสตาร์ทจาก Pit Lane หลังจากนักแข่งทั่วไป ออกสตาร์ทไปแล้ว 10 วินาที
  • กติกา Flag To Flag นักแข่งสามารถเข้ามาเปลี่ยนรถคันใหม่ได้ โดยรถคันที่สองจะต้องเซ็ทอัพไว้ก่อนที่จะออกสตาร์ท ซึ่งกติกานี้เป็นกติกาที่เริ่มใช้ในปี 2017 เพื่อลดการเกิดอุบัติเหตุใน Pit Lane
  • กติกา Green Zone กติกานี้เกิดขึ้นเพื่อลดการเกิดอุบัติเหตุในการแข่งขัน โดยขอบสนามที่ทาสีเขียวไว้นั้นจะเป็นพื้นที่ห้ามเข้าของนักแข่ง หากใครเผลอหรือจงใจเข้าสู่ Green Zone นั้นจะถูกปรับให้คืนอันดับ หรือเพิ่มเวลาแล้วแต่กรณี
  • กติกาการใช้ยาง ยางของการแข่งขันในระดับ MotoGP นั้นแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ก็คือ ยางแห้ง และยางเปียก โดยยางแห้งนั้นจะมีการแบ่งประเภทตามความหนาของผิวยางแบ่งออกได้ 3 แบบ Hard Medium และ Soft ส่วนยางเปียกนั้นจะมีระดับความแข็งเพียง 2 ระดับคือ ยาง Hard และ Medium
  • จำนวนยางที่สามารถใช้ได้สูงสุดในการทดสอบ 1 ฤดูกาลอยู่ที่ 120 ชุด ไม่รวมยางที่ใช้แข่งจริง

N6sJ2V.jpg

จะดู MotoGP ให้สนุกมากยิ่งขึ้น ก็ต้องรู้จักกับทีมที่แข่ง ครั้งนี้จะขอแนะนำทีมระดับแถวหน้าของโลกอย่างทีม Repsol Honda

ทีม Repsol Honda นั้นเป็นทีมที่อยู่คู่กับการแข่งขัน MotoGP มาตั้งแต่ยุค 90 มีนักแข่งระดับโลกมากมายไม่ว่าจะเป็น มิก ดูฮาน, อเล็ก ควิวิลล์ สร้างผลงานโดดเด่นในการแข่งขันมาอย่างต่อเนื่องยาวนาน และแน่นอนว่าในปัจจุบันนี้ไม่มีใครไม่รู้จัก Marc Márquez (มาร์ก มาเกซ) สุดยอดนักบิดอัจฉริยะชาวสเปน แชมป์โลกฝีมือฉกาจที่หาตัวจับได้ยาก ด้วยลีลาในการขี่ที่บ้าระห่ำ ท้าความตายและไร้ความกลัวใดๆ ทั้งสิ้น ซึ่งตรงนี้ก็ได้สวนทางกับบุคลิกของตัวเค้ายามอยู่นอกสนามแข่งขัน ที่สุภาพและเฟรนด์ลี่เอามากๆ ปีนี้ก็ได้ผนึกกำลังกับ ดานี่ เปโดรซ่า คู่หูจอมเก๋าชาวสเปนเช่นเดียวกัน

N6sLFQ.jpg

ซึ่งรถที่ทีม Repsol Honda ใช้แข่งในปีนี้นั้นก็คือ Honda RC213V 2018 ซึ่งเราจะมาถอดรหัสของเจ้า 2018 Honda RC213V กันดีกว่า เริ่มต้นที่ชื่อของมันกันเลย โดยชื่อ RC นั้นจะเป็นรหัสในการเรียกโมเดลรถมอเตอร์ไซค์สำหรับการแข่งขันของค่าย Honda ที่ใช้เครื่องยนต์แบบ 4 จังหวะ 213 คือเจนเนอเรชั่นที่สามของรถรุ่นนี้ในศตวรรษที่ 21 และสุดท้าย V คือเครื่องยนต์แบบ V Engine นั่นเอง โดยโมเดล RC213V นั้นถูกใช้งานมาตั้งแต่ปี 2012 ในยุคของ Casey Stoner และ Dani Pedrosa ในทีม Repsol Honda รวมไปถึง Alvaro Batista และ Stefan Bradi ของทีม LCR Honda รวมไปถึงนักแข่งแทน Jonathan Rea ที่มาลงทำการแข่งขันแทน Casey Stoner อยู่สองสนาม ซึ่งปีนั้น Honda ไม่ประสบผลสำเร็จในด้านการแข่งขันเท่าที่ควร โดยอันดับสูงสุดที่ทำได้คือที่สามของ Casey Stoner และเมื่อสิ้นสุดฤดูกาล Casey Stoner ก็โบกมืออำลาอาชีพนักบิดทันที ทำให้ทีม Repsol Honda ต้องหานักแข่งหน้าใหม่เข้ามาแทนที่ ซึ่งก็ได้ “ปีศาจแห่งยุค” Marc Marquez มาไล่ล่าแชมป์โลกให้จนถึงปัจจุบัน

https://www.greatbiker.com/wp-content/uploads/2018/06/5a8197fa114a23.05589443-1024x454.jpg

โดยตัว Honda RC213V นั้นก็ถูกพัฒนามาอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน โดยในเวอร์ชั่นของฤดูกาล 2018 นั้นจะใช้งานเครื่องยนต์ขนาด 1,000 ซีซี 4 ลูกสูบแบบ V 4 จังหวะ 4 วาล์วต่อสูบแบบ DOHC ระบายความร้อนด้วยน้ำ สามารถสร้างพละกำลังสูงสุดได้เกินกว่า 242 แรงม้า ขับเคลื่อนด้วยระบบเกียร์ 6 สปีดแบบ Racing Reverse พร้อมระบบ Quickshifter ส่งกำลังสุดท้ายด้วยระบบโซ่

N6syln.jpg

โครงสร้างตัวถังแบบ Aluminum Twin-Tube น้ำหนักเบาทนทานต่อแรงบิดและแรงกระชากสูง ระบบช่วงล่างจากแบรนด์ Ohlins โดยด้านหน้าใช้งานระบบกันสะเทือนแบบหัวกลับ Upside-Down ขนาด 48 มิลลิเมตร ส่วนด้านหลังเป็น MonoShock ทำงานร่วมกับสวิงอาร์มแบบ Pro-Link โดยมีออฟชั่นเสริมที่บางครั้ง Marquez จะเอามาใช้ในการทำเวลาในรอบทดสอบด้วยสวิงอาร์มแบบ Pro-Link ที่ผลิตจากคาร์บอนไฟเบอร์ ระบบเบรกหน้าดิสก์คู่จากแบรนด์ Yutaka ทำงานร่วมกับปั้มเบรกจาก Brembo ส่วนระบบเบรกหลังดิสก์เดี่ยวทำงานร่วมกับปั้มเบรก Brembo เหมือนด้านหน้า วงล้อแม็กนิ-เซียมอัลลอยด์ขนาด 17 นิ้ว สวมยาง Michelin ที่ใช้ในการแข่งขัน ถังน้ำมันจุได้ 22 ลิตร ตัวรถมีน้ำหนักที่ 156 กิโลกรัม ไม่รวมน้ำมันเชื้อเพลิง ตามกฎข้อบังคับของ FIM

N6sVBl.jpg

N6sv7E.jpg

maxresdefault

เชื่อว่าอ่านมาถึงตรงนี้แล้วเพื่อนๆ เองก็น่าจะพอเข้าใจถึงรายละเอียดการแข่งขันของ MotoGP กันในภาพรวมแล้ว แล้วอย่าลืมติดตามชมการแข่งขัน 2018 กัน โดยเฉพาะกับการแข่งขันในประเทศไทยเรา ที่สนามช้าง อินเตอร์เนชันแนล เซอร์กิต บุรีรัมย์ระหว่างวันที่ 5 – 7 ต.ค. นี้ บอกเลยว่าพลาดไม่ได้!!!

ขอบคุณภาพประกอบจาก hondaracingcorporation.com