Banner-Yamaha-Fazzio-X-Fila-2024-1150x250.gif
Banner-Yamaha-Fazzio-X-Fila-2024-400x300.gif

ย้อนอดีต 1990 Honda CBR250RR MC22

ย้อนอดีต 1990 Honda CBR250RR MC22

ถ้าให้ย้อนกลับไปในช่วงยุค 90’s ที่เป็นยุครุ่งเรืองของรถมอเตอร์ไซค์สปอร์ตฟูลแฟร์ริ่ง หนึ่งในบรรดาโมเดลที่มีขายในเวลานั้นจะมีอยู่หนึ่งโมเดลที่โดดเด่นและมีความแตกต่างออกไปจนกลายเป็นหนึ่งในโมเดลระดับตำนาน ที่ในปัจจุบันบรรดานักเลงรถเก่ามันจะขุดเอามาปั้นกันเป็นอย่างมาก โมเดลที่ว่าก็คือเจ้า Honda CBR250RR MC22 เพราะมันคือโมเดลสุดท้ายที่ผลิตโดยค่ายปีกนกที่มาพร้อมกับขุมกำลังในคลาส 250 ซีซีแบบ 4 ลูกสูบเรียง

cdd309580892a51f7e3da39c20db3e84.jpg
1992 Honda CBR250RR MC22

Honda CBR250RR MC22 ผลิตครั้งแรกในปี 1990 โดยมีสองโมเดลในรูปแบบของ Nimor Change ที่มีการปรับปรุงเครื่องยนต์ใหม่ให้สอดคล้องกับกฎไอเสียในช่วงเวลานั้น โดยโมเดลแรกจะผลิตในปี 1990-1994 และรุ่นที่สองผลิตในปี 1994-2000 จะว่าไปแล้ว MC22 มีการผลิตรุ่นสุดท้ายในปี 1996 ซึ่งเป็นไลน์การผลิตสุดท้ายจากโรงงานในประเทศญี่ปุ่น แต่ก็มีการจำหน่ายต่อเนื่องยาวนานจนถึงการเก็บคืนโรงงานครั้งสุดท้ายในปี 2000

ddb9e112af2e6a33e98129187c5aed16.jpg

โดยพื้นฐานแล้วจะเป็นรุ่นที่พัฒนามาอีกต่อจาก CBR250R MC19 โดยใช้พื้นฐานจากเครื่องยนต์ 249 ซีซี แบบ 4 ลูกสูบเรียงแบบ DOHC โดยมีขนาดกระบอกสูบ x ช่วงชักที่ 48.5 x 33.8 มิลลิเมตร อัตราส่วนกำลังอัดที่ 11.5 เท่ากันทั้งสองรุ่น แต่จะมีความต่างเล็กน้อยที่ทั้งสองรุ่นของ MC22 จะมีกำลังและแรงบิดที่แตกต่างกัน โดยรุ่นแรกในปี 1990-1994 จะมาพร้อมกับกำลังสูงสุด 45 แรงม้า (PS) ที่ 15,000 รอบต่อนาที แรงบิดสูงสุด 18 Ib-ft ที่ 12,000 รอบต่อนาที ส่วนรุ่นที่สองที่ผลิตในปี 1994-2000 นั้นจะมาพร้อมกับกำลังสูงสุด 40 แรงม้า (PS) ที่ 14,500 รอบต่อนาที และแรงบิดสูงสุด 17 Ib-ft ที่ 12,000 รอบต่อนาที

b5c62813537206aff9ec508edb8dcfb6.jpg

ภาพจำที่ชัดเจนที่สุดของโมเดลนี้ก็คือชุดไฟหน้าทรงกลมคู่ ภายใต้แฟร์ริ่ง ที่เป็นภาพจำของ MC มาตั้งแต่รุ่น MC17 ในปี 1987 และต่อยอดมาจนถึงรุ่นสุดท้ายในปี 2000 โดยรุ่นสุดท้ายนั้นจะมีขนาดตัวรถที่เล็กลงกว่าเดิม เมื่อเทียบกับ MC19 โดยมีมิติความยาว 1,975 มิลลิเมตร (สั้นกว่า MC19 45 มิลลิเมตร) ความกว้าง 675 มิลลิเมตร (แคบกว่า MC19 10 มิลลิเมตร) ความสูง 1,080 มิลลิเมตร (สูงกว่า MC19 5 มิลลิเมตร) ความสูงเบาะนั่ง 735 มิลลิเมตร (เท่ากับ MC19) ระยะฐานล้อ 1,345 มิลลิเมตร (สั้นกว่า MC19 20 มิลลิเมตร) โดยที่น้ำหนักตัวรถทั้งสองรุ่นของ MC22 จะอยู่ที่ 157 กิโลกรัม และ 158 กิโลกรัม (MC19 หนัก154 กิโลกรัม)

92799e2aeadf050e14328fbba072f58a.jpg
1987 Honda CBR250R MC19

อุปกรณ์บนตัวรถจัดว่าค่อนข้างจะทันสมัยมากๆในช่วงเวลานั้น ด้วยโครงสร้างแบบ Blackbone ที่ยกมาจากรถแข่งในสนาม พร้อมชุดกันสะเทือนหน้าแบบ Telescopic โช้คอัพหลังเดี่ยวทำงานร่วมกับ Swingarm แบบ Diamond ระบบคลัตซ์แบบ Wet <ulti-Plate ซ้อนกันหลายแผ่น ส่งกำลังด้วยชุดเกียร์ 6 สปีด และส่งกำลังสุดท้ายด้วยระบบโซ่ ในส่วนของระบบเบรกนั้นด้านหน้าจะมาพร้อมกับดิสก์หน้าคู่ขนาด 275 มิลลิเมตร คาลิปเปอร์เบรกแบบ 2 พอร์ต ส่วนด้านหลังจะมาพร้อมกับจานดิสก์เบรกขนาด 220 มิลลิเมตร ปั้มหลังเดี่ยว ขอบล้ออัลลอยด์ขนาด 17 นิ้ว สวมด้วยยางขนาด 110/70-17 และ 140/60-17

fd3090447806c17ee311a97e7aad2a61.jpg
1996-2000 Honda CBR250RR MC22

ถ้าให้พูดถึงฟิลลิ่งการขับขี่ ก็ต้องบอกตามตรงเลยว่าผู้เชียนเองไม่เคยมีโอกาสในการได้รับประสบการณ์บน MC22 มาก่อนเลย เพียงแต่ว่าในช่วงเวลานั้น ผู้เขียนเองเคยเห็นรถคันนี้ผ่านตาบ้างพอสมควร และด้วยความที่ช่วงเวลานั้น Honda เองยังไม่มีนโยบายในการทำตลาดรถมอเตอร์ไซค์แบบนี้ในประเทศไทย แต่ก็เคยได้ฟังประสบการณ์ตรงจากผู้อื่นเกี่ยวกับตัวรถว่ามันจะมีคาแร๊กเตอร์ที่แตกต่างออกไปจากคู่แข่ง ที่อาจจะไม่หวือหวาในเรื่องของพละกำลังเท่ากับ Suzuki GSx-R250 แต่ก็ควบคุมได้ง่ายกว่า Kawasaki ZXR250 และมีฟิลลิ่งที่เหนือกว่าเล็กน้อยจากอีกหนึ่งคู่แข่งอย่าง Yamaha FZR250 ในช่วงเวลานั้น

ขอบคุณข้อมูลและรูปภาพจาก www.totalmotorcycle.com