Banner-Yamaha-Motorshow-2024-1150x250.gif
Banner-Yamaha-Motorshow-2024-400x300.gif

เรียนรู้วิธีการเข้าโค้งแบบนักแข่ง

เรียนรู้วิธีการเข้าโค้งแบบนักแข่ง

เชื่อได้ว่าเพื่อนๆ ที่ชื่นชอบรถมอเตอร์ไซค์นั้น จะต้องเป็นคนที่ชื่นชอบกีฬาด้านความเร็ว และเรามักจะเห็นนักแข่งมอเตอร์ไซค์ในสนาม ที่ทำท่าทางในการเข้าโค้งที่แปลกตา ไม่เหมือนกับที่เราใช้งานในชีวิตประจำวัน ซึ่งเจ้าท่าทางในการขับขี่ของนักแข่งนั้นมีชื่อเรียกว่า “Hang On” ซึ่งมันทำอย่างไร และทำไมต้องใช้ท่าทางแบบนั้นในการแข่งขัน บทความนี้เรามีคำตอบให้ครับ

57ee50c238aa5f3e736a8cde28ade88f.jpg

ตามหลักการการเข้าโค้งแบบ Hang On นั้น เป็นการถ่ายเทน้ำหนักของตัวรถเพื่อการเปลี่ยนจุดศูนย์ถ่วงของตัวรถจากจุดเดิม เพื่อให้เกิดจุดศูนย์ถ่วงที่เหมาะสมกับสถานการณ์ โดยเราจะเห็นได้ว่าตัวของผู้ขับขี่มักจะเอียงไปอยู่ด้านในของโค้งเสมอ โดยการทิ้งน้ำหนักตัวของผู้ขับขี่ไปในมุมเดียวกับที่ตัวรถเอียงอยู่ เพื่อการสร้างสมดุลของตัวรถ โดยที่หน้ายางที่มันสัมผัสกับพื้นนั้นจะต้องเกาะอยู่เต็มราวๆ 80-90% ซึ่งเราจะสังเกตุได้ว่าองศาของแฮนด์และตำแหน่งของโช้คอัพหน้านั้นจะไม่เหมือนกับการหักเลี้ยวแบบปกติทั่วๆไป อีกสาเหตุสำคัญของเทคนิคนี้ก็คือการเข้าออกโค้งที่รวดเร็วกว่า โดยมีเรื่องของ ground clearance หรือระยะห่างของพื้นและตัวรถเป็นที่ตั้ง โดยผู้ขับขี่สามารถทำมุมกับจักรยานได้เร็วกว่าการนั่งแบบปกติ ซึ่งตัวรถจะต้องมีระยะห่างจากพื้น ความสูงพักเท้า และท่อไอเสียที่ถูกออกแบบมาเพื่อให้สอดคล้องกับการใช้งาน ทำให้เวลาที่เราเอียงตัวไปในโค้งแล้ว อุปกรณ์เหล่านี้จะไม่ขรูดหรือขัดขวางในขณะที่เอียงตัว

367f0849ec3239e07746cd867a24cb94.jpg

โดยที่หน้ายางที่ใช้ในเทคนิคนี้จะเน้นไปที่ขอบด้านข้างของหน้ายาง โดยเพิ่มการยึดเกาะและความรู้สึก เพราะยางสมัยใหม่นั้นถูกพัฒนามาให้เหมาะสมกับพื้นถนนของแต่ล่ะพื้นที่ แบ่งออกได้ตามประเภทของยาง แต่สำหรับยางที่ใช้ในสนามแข่งขั้น มีความแตกต่างเป็นอย่างมาก เพราะเนื้อยางหรือ Componment ของมันจะถูกออกแบบมาเป็นพิเศษสำหรับพื้นยางมะตอยที่ถูกกำหนดให้มีความหนืดที่สูงกว่ายางมะตอยบนท้องถนนทั่วไปถึง 10 เท่า ทำให้ยางที่ใช้ในสนามการแข่งขันนั้นจะมีประสิทธิภาพและราคาที่สูงกว่า ดังนั้นเมื่อเราเทียบกับยางที่ติดมาจากโรงงานของรถมอเตอร์ไซค์นั้น มันถูกออกแบบมาเพื่อการใช้งานบนท้องถนนทั่วๆไป มากกว่าจะสร้างเนื้อยางที่เน้นการยึดเกาะบนพื้นที่มีความหนืดสูงเหมือนกับสนามแข่ง หรือในกรณีของผู้ผลิตยางแบบ Third Party ที่มีชื่อเสียงเอง ก็ยังแบ่งเกรดยางสำหรับการขายเป็นยางสำหรับใช้งานทั่วไป และยางเฉพาะในสนามแข่ง แต่ถึงจะมีการแบ่งแยกประเภท แต่ก็มีหลายๆคนที่มักจะประหยัด ด้วยการนำเอายางใช้งานบนถนน ไปลงวิ่งในสนามแข่ง มันก็ไม่ใช่ว่าจะทำไม่ได้ แต่ยางสำหรับถนนนั้น จะมีร่องสำหรับรีดน้ำ เหมือนกับยางฝนสำหรบการใช้งานในการแข่งขันแบบ Wet Race ซึ่งมันค่อนข้างจะมีน้ำหนัก และทำให้ตัวรถวิ่งได้ช้าลง ซึ่งไม่ค่อยเป็นที่นิยมสักเท่าไหร่

18484edd739d351742d4c9f54ab64e28.jpg

แล้วทำไมต้องแทงเข่าแยงเข้าไปในโค้ง ส่วนหนึ่งเพื่อเป็นการรวมน้ำหนักของตัวผู้ขับขี่ให้ทิ้งไปยังจุดนั้น และอีกส่วนที่สำคัญคือการวัดระดับความเอียงของตัวรถ โดยเราจะเห็นได้ว่าการแข่งขันนั้น นักแข่งจะใส่ชุดแข่งที่มีการ์ดเป็นจุดๆ ที่นูน ออกมาจากตัวชุด โดยเราจะเรียกตัวนูนๆนี้ว่า “เซนเซอร์” โดยมันจะทำให้ที่ในการป้องกันตำแหน่งของข้างขาด้านนอกและหัวเข่า ศอก ข้างแขนด้านนอก และหัวไหล่ โดยที่เซนเซอร์เหล่านี้สามารถถูไปกับพื้นสนามได้ นอกเหนือจากการป้องกันการสัมผัสโดยตรงแล้ว จะเป็นการวัดระดับความเอียงของตัวรถไปในตัว เมื่อข้างขาโดยก็คือเอียงได้อีก แต่ถ้าไล่ไปจนถึงเซนเซอร์ตำแหน่งสุดท้ายคือหัวไหล่แล้วล่ะก็ เตรียมล้มพับได้เลย เกินเบอร์ไปพอสมควรแล้ว

60128d48663eecf02850a903ad5998ae.jpg

จากหลักการที่กล่าวไว้ข้างต้น เทคนิค Hang On นั้นเป็นการย้ายจุดศูนย์ถ่วงของตัวรถไปยังจุดใหม่ ดังนั้นการขยับตัวบนรถคือประเด็นสำคัญที่สุด โดยการย้ายจุดศูนย์ถ่วงนั้นมีสองวิธีใหญ่ๆ คือการย้ายทั้งตัวของผู้ขับขี่และการย้ายเฉพาะส่วนอย่างสะโพกเป็นต้น และมีปัจจัยอีกหนึ่งอย่างที่สำคัญนั่นก็คือความเร็วของตัวรถ หากเราใช้เทคนิคนี้บนความเร็วต่ำ มันก็สามารถทำได้ แต่จังหวะการพลิกกลับของตัวรถที่จากเอียงอยู่ให้ตั้งตรงนั้นจะกินระยะเวลาที่มากกว่าท่าทางการเข้าโค้งในรูปแบบอื่นๆ ซึ่งนั้นมันจะไม่ทำให้เพื่อนๆ เร็วกว่าเดิมได้เลย ดังนั้นหากความเร็วที่ไม่สูงมากนัก อาจจะใช้เป็นการแทงเข่าชี้เข้าไปในโค้งและใช้หัวไหล่ฝั่งตรงข้ามของเข่าข้างที่แทงออกไป กดแฮนด์รถลง โดยที่เข่าอีกด้านนั้นหนีบกับตัวถังไปจะสามารถเข้าและออกโค้งได้อย่างรวดเร็วกว่า แต่ถ้าเพื่อนอยากจะลองใช้ท่าทางแบบนี้ในย่านความเร็วต่ำก็สามารถทำได้นะ แต่เวลาที่เราผลักตัวเองเพื่อเปลี่ยนทิศทางตัวรถ ก็ให้ระวังในเรื่องของน้ำหนักตัวที่เทไปอีกฝั่ง เพราะมันอาจจะทำให้จุดศูนย์ถ่วงเกิดความผันผวน จนทำให้เกิดอาการ Low Side หรือล้มไปเอง

c67f243433d539bbd7477115021145b0.jpg

เราเรียนรู้มาถึงตำแหน่งและวิธีการแล้ว แต่เรายังไม่ได้พูดคุยกันถึงเรื่องการใช้เบรกเลย แน่นอนว่าเมื่อเรารู้สึกว่าเร็วเกินไปเมื่อเอียงตัวเราควรทำอย่างไร สิ่งหนึ่งที่ต้องจำให้ขึ้นใจเสมอ การเข้าโค้งแบบนี้ อย่างใช้เบรกหลังเป็นอันขาด เพราะเบรกหลังตามหลักการแล้วจะเป็นการชะลอตัวรถก็จริง แต่การเบรกที่ด้านหลังนั้นโดยส่วนมากตัวรถจะพยายามตั้งตรงขึ้นเสมอ ซึ่งมันจะตรงกันข้ามกับการใช้เบรกบนท้องถนนทั่วไป เบรกหลังจะใช้ได้ในกรณีที่เราต้องการหยุดจริงๆ ไม่ใช่ชะลอรถเหมือนการขับขี่บนท้องถนน แล้วไม่ให้ใช้เบรกหลังแล้วจะใช้เบรกหน้าเหรอ ก็ไม่เชิงครับ เราจะใช้เบรกหน้าเพียง 30-40% เท่านั้น แต่การเบรกที่ดีที่สุดของการใช้งานเทคนิค Hang On คือ “คันเร่ง” เราต้องเรียนรู้การเดินคันเร่งให้นุ่มนวล รู้จักจังหวะเปิดและปิดคันเร่ง การกรอคันเร่ง โดยส่วนหนึ่งเพื่อเป็นการเปิดใช้งานระบบ Engine Brake เพื่อการชะลอความเร็ว หรือในนักแข่งบางรายก็ใช้เทคนิคกำคลัตซ์เพื่อสร้างแรงเบรกในจังหวะต่อมา ซึ่งมันค่อนข้างเป็นเทคนิคเฉพาะตัว ต้องผ่านการฝึกฝนอย่างมาก เอาโดยสรุปเลยคือถ้าอยู่ในโค้งแล้ว ต้องการชะลอให้ใช้คันเร่งเป็นตัวชะลอความเร็ว พร้อมกับเบรกหน้าเล็กน้อย แต่ถ้าต้องการหยุดใช้เบรกหลังก่อน พอรถเริ่มตั้งตรงจนเราคิดว่าควบคุมได้ ก็กำเบรกหน้าและยกคันเร่งได้เลยครับ

f4cb8fad116fe42c11a58e67cd66f4e1.jpg

สุดท้าย เพื่อนๆ อาจจะได้ความรู้เล็กๆ น้อยจากบทความนี้ไปบ้าง แต่ทางเราก็ขอเตือนนะครับว่าอย่างไปใช้เทคนิคนี้บนท้องถนนสาธรณะ ด้วยลักษณะยางที่ไม่เหมาะสม ความหนืดของพื้นถนนที่ไม่เท่ากับพื้นสนาม มันอาจจะไปรอดในครั้งแรกๆ แต่ในครั้งถัดๆไป เพื่อนๆ อาจจะไปลงเอยอยู่ที่คลองข้างทาง หรือพุ่มไม้ริมถนน แล้วจะหาว่าพวกเราไม่เตือนไม่ได้ล่ะนะ

ขอบคุณข้อมูลและรูปภาพจาก www.visordown.com

Banner-Yamaha-Safe--Save-2024-400x300.jpeg