Banner-Yamaha-Fazzio-X-Fila-2024-1150x250.gif
Banner-Yamaha-Fazzio-X-Fila-2024-400x300.gif

ย้อนอดีตโลโก้รถมอเตอร์ไซค์ Triumph

ย้อนอดีตโลโก้รถมอเตรอ์ไซค์ Triumph

ปฎิเสธไม่ได้ว่า Triumph ผู้ผลิตและจำหน่ายรถมอเตอร์ไซค์ที่ใหญ่ที่สุดในเกาะอังกฤษ ถึงปัจจุบันจะโยกย้ายการผลิตส่วนใหญ่เข้าสู่ประเทศไทย แต่ด้วยยอดการผลิตและยอดการขาย ทั่วโลกก็ชัดเจนว่า Triumph เองก็มีจำนวนผู้เลือกใช้งานและมีกลุ่ม Fan Boy ตัวยงกระจายอยู่ทั่วโลก ในบทความนี้เราจะขอพาเพื่อนๆไปย้อนดูอดีตความเป็นมาของโลโก้ประจำค่ายนี้กันครับ

H2

ก่อนอื่นเลยคงต้องเล่าประวัติโดยย่อของค่าย Triumph กันสักหน่อย บริษัท Triumph Motorcycle นั้นก่อตั้งโดย Mr.Siegfried Bettmann ชาวเยอรมันที่ย้ายมาตั้งรกรากในกรุงลอนดอนประเทศอังกฤษ ในช่วงปีค.ศ. 1880 โดยได้ตั้งบริษัท S. Bettmann & Co. Import Export Agency ขึ้นในปีนั้น โดยมีการประกอบกิจการเป็นการนำเข้าเครื่องกลมาจากจักรพรรดิ์เยอรมัน โดยที่สินค้าที่ขายดีที่สุดก็คือจักรยาน ต่อมาในปี 1883 นักธุรกิจขาวอังกฤษ Mr.John Bloor ได้เข้าซื้อกิจการทั้งในส่วนของร้านค้าและโรงงานผลิตจักรยานหลังจาก S. Bettmann & Co. Import Export Agency ตกอยู่ในสภาวะล้มละลาย และได้ทำการเปลี่ยนชื่อบริษัทใหม่เป็น “Triumph Engineering” และเปิดแผนกผลิตรถมอเตอร์ไซค์ขึ้นมา และผลิตรถมอเตอร์ไซค์คันแรกออกมาในปี 1902 จวบจนถึงปัจจุบัน

โลโก้แรกบนจักรยาน Triumph 1982-1902

1

ในช่วงเริ่มต้นนั้น โลโก้ของ Triumph เองมีความเอนเอียงและใช้หลักการทางศาสนาเข้ามามีบทบาทในการออกแบบ โดยสังเกตได้จากสัญลักษณ์แต่ที่คาดกลางตัวอักษร ที่เป็นเหมือนกับแตรฉลองชัย ณ ประตูสวรรค์ตามหลักความเชื่อในศาสนาคริสต์ จนทำให้ผลิตภัณฑ์แรกๆ ของทางค่ายจะมีชื่อเล่นติดตัวว่า “Trumpets”

การเปลี่ยนแปลงครั้งแรก 1902-1906

2

โลโก้นี้มีการเปลี่ยนแปลงโดยสิ้นเชิงจากโลโก้ที่อ้างอิงเรื่องของศาสนา มาสู่การเมือง โดยตราสัญลักษณ์นี้เป็นการออกแบบที่อ้างอิงถึงกลุ่มจักรพรรดิ์นิยม โดยสังเกตได้จากธง 6 ผืนบนตรานั้น หมายถึงชัยชนะที่มีเหนือ 6 ทวีปของโลกของเครือจักรภพ

โลโก้ที่ไม่ใช่ตราครั้งแรก 1907-1922

3

การออกแบบที่เรียบง่ายเป็นแนวทาง โดยการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้นับว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงที่แหวกกระแสมากๆในยุคนั้น ด้วยการเปลี่ยนจากตราโล่ห์ที่มีลักษณะเป็นทางการ กลับมาใช้โลโก้แบบลายมือ แต่มันกลับสร้างความประทับใจและมอบความเป็นกันเองให้กับลูกค้าได้เป็นอย่างดี

กลับมาใช้ตราโล่ห์อีกครั้ง 1922-1932

4

หลังจากจบสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง สินค้าจากกลุ่มประเทศ British ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก โดยมีจุดขายหลังจากที่เป็นหนึ่งในกลุ่มประเทศผู้ชนะสงคราม ซึ่งทำให้ Triumph กลับมาให้ความสำคัญกับภาพลักษณ์ของตราสินค้าอีกครั้ง โดยได้ย้อนกลับไปใช้โลโก้ตราโล่ห์เหมือนกับที่ใช้ในช่วงปี 1907-1922 แต่มีการเพิ่มชื่อของเมือง Coventry ที่เป็นพื้นที่ตั้งของโรงงานผลิตหลักของค่าย โดยที่ยังคงมีธงชัย 4 ผืนที่เป็นเอกลักษณ์ของตราโล่ห์เก่าไว้

โลโก้ที่อายุสั้นที่สุด 1932-1933

5

นับว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงอีกครั้งที่สำคัญของค่าย Triumph และมันก็มีอายุที่สั้นเอามากๆ โดยรวมเป็นการบ่งบอกถึงความพร้อมของผู้ผลิตที่จะพิชิตตลาดทั่วโลก

ภาพลักษณ์ที่คุ้นตา 1934-1990

6

จัดว่าเป็นตราสัญลักษณ์ที่กลายเป็นภาพจำสำหรับแบรนด์ Triumh กับตรา Smile Line ที่มีจุดเชื่อมระหว่างหางของตัว R และตัว H ที่มีลักษณะเหมือนกับรอยยิ้ม ที่บ่งบอกความเป็นมิตรกับผู้บริโภคมากกว่าตราสัญลักษณ์เดิมที่กลายเป็นผู้ร้ายหวังครอบครองโลก

ปรับลุกส์ใหม่ 1990-2005

7

จากตราสัญลักษณ์เดิมที่เป็นสีบน Monotone ปรับใหม่โดยใส่สีสันน้ำเงินเดินขอบด้วยสีเทาเงิน โดยเป็นการบ่งบอกถึงความเฟื่องฟูของวิทยาการรถมอเตอร์ไซค์ในช่วงเวลาที่พีคที่สุดของค่าย ซึ่งการเพิ่มสีสันบนตราสัญลักษณ์นั้นเปรียบสเมือนการบ่งบอกถึงความมั่งคั่งและแข็งแกร่งของแบรนด์ เพิ่มความน่าเชื่อถือให้กับผู้ผลิตได้เป็นอย่างดี

จริงจังและแน่วแน่ 2005 – 2015

8

การปรับโลโก้ใหม่เพื่อเป็นการเฉลิมฉลองวาระครบรอบ 122 ปีของแบรนด์ และปีที่ 103 ในการผลิตรถมอเตอร์ไซค์ Triumph ใช้เวลาสำคัญในปีนั้นด้วยการตัดความวุ่นวาย หวนกลับมาสู่เส้นทางที่เรียบง่าย เช่นเดียวกับการผลิตรถมอเตอร์ไซค์ในช่วงเวลานั้นที่ทางผู้ผลิตจะใช้ช่วงเวลาพิเศษนี้ผลิตโมเดลพิเศษออกมาเป็นจำนวนมาก ซึ่งตราสัญลักษณ์นี้ถูกใช้ต่อเนื่องยาวนานถึง 10 ปีจนกระทั่งการเข้าสู่ยุคใหม่ของค่าย

จุดเริ่มต้นของ Modern Icon 2015 ถึงปัจจุบัน

9
10

โลโก้ที่คุ้นตามากที่สุดของค่าย ด้วยตัวอักษรย่อตัว T บนธงชาติ Uion Jack ที่ถูกตัดทอน ซึ่งตราสัญลักษณ์ถูกใช้ไปให้หลากหลายผลิตภัณฑ์ของค่าย ทั้งรถมอเตอร์ไซค์ แบรนด์เสื้อผ้า หรือของใช้ต่างๆ ของแบรนด์ที่ผลิตโดยค่าย และในปี 2015 นี้ก็ได้มีการขยายฐานการผลิตมายังประเทศไทย ทำให้ตราสัญลักษณ์นี้เป็นที่รู้จักกันเป็นวงกว้างในบ้านเราอีกด้วย

ขอบคุณข้อมูลและรูปภาพจาก www.visordown.com